Page 22 - วัดป่าธรรมอุทยาน
P. 22

อุโบสถพุทธชยันตี          ๒๑





















                 ๑.  นามวา “มหาสารคาม”


                        คือ ความงามของอารยธรรมอีสาน



                        “จังหวัดมหาสารคาม”  ตั้งอยูตอนกลางของภาคอีสาน  เปนจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร
                 และอารยธรรมอันยาวนาน  ดั่งปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่ไดรับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต
                 สมัยคุปตะตอนปลายและปลลวะของอินเดียผานเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี

                 เชน บริเวณเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) และเมืองนครจําปาศรี โดยพบหลักฐานเปนพระยืนกันทรวิชัย
                 พระพิมพดินเผา  ตลอดทั้งพระบรมสารีริกธาตุ  นอกจากนั้นแลว  ยังไดรับอิทธิพลของศาสนา
                 พราหมณผานทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เชน กูสันตรัตน กูบานเขวา กูบานแดง และกู
                 อื่นๆ รวมไปจนถึงเทวรูป และเครื่องปนดินเผาของขอมอยูตามผิวดินทั่วๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม
                 วิถีวัฒนธรรมของชาวมหาสารคามประกอบดวยหลายชนเผา  เชน  ชาวไทยพื้นเมืองพูดภาษาอีสาน
                 ชาวไทยยอ  และชาวผูไท  ประชาชนสวนใหญนับถือศาสนาพุทธ  ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีต
                 ประเพณี  “ฮีตสิบสอง” ประกอบอาชีพกสิกรรมเปนหลัก ใชชีวิตอยางเรียบงายไปมาหาสูชวยเหลือ
                 พึ่งพาอาศัยกันตามแบบของวิถีคนอีสาน
                        กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่

                 ๔ ไดมีพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ ใหยก “บานลาดกุดยางใหญ” ขึ้นเปน “เมืองมหาสารคาม”
                 โดยแยกพื้นที่และนําพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองรอยเอ็ดมาตั้งถิ่นฐานบานเรือน  และโปรด
                 เกลาฯ ใหทาวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท) เปน “พระเจริญราชเดช” เจาเมือง และมีทาวบัวทองเปน
                 ผูชวยขึ้นกับเมืองรอยเอ็ด นี่คือ ปฐมบทของการกอตั้งเมืองมหาสารคาม ซึ่งไดรับการสืบสานคุณคา
                 อันงดงามของแผนดินสืบมาตราบเทาทุกวัน













                        วัดปาธรรมอุทยาน : สถาปตยกรรมแหงอารยธรรมอีสาน รมณียวิปสสนาสถานแหงตักสิลานคร
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27