Page 171 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 171
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๔๓
ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าพาหนะและค่าเช่าที่พักของตัวความ หรือทนายความ
หรือพยาน กรณีสั่งจ่ายให้แก่พยานก็ไม่จ าเป็นว่าจะเป็นพยานหมายหรือพยานน า
ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีไม่ยอมช าระค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายตามที่ศาล
ก าหนด ศาลต้องยกค าขอเลื่อนคดีนั้นเสีย
ค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายที่สั่งจ่ายดังกล่าวนั้นให้ตกเป็นพับแก่คู่ความฝ่ายที่
ขอเลื่อนคดี
๑.๑.๔ หากมีพฤติการณ์ที่ถือว่าประวิงคดี ศาลไม่ให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่ติดใจ
สืบพยาน เช่น จ าเลยขอเลื่อนคดี ๓ ครั้งติดต่อกัน นัดแรกอ้างว่าตัวจ าเลยติดธุระต่างจังหวัด
นัดที่ ๒ ตัวจ าเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่าทนายจ าเลยติดธุระและแถลงว่าหากนัดหน้าทนายจ าเลย
ติดธุระอีกจะแต่งทนายความคนใหม่ และแถลงด้วยว่าถ้านัดหน้าจ าเลยไม่มีทนายความหรือไม่มี
พยานมาศาล ก็จะไม่ขอเลื่อนคดีอีกให้ถือว่าจ าเลยไม่ติดใจสืบพยาน ครั้นถึงนัดที่ ๓ จ าเลย
และทนายความไม่มาศาลแต่จ าเลยแต่งทนายคนใหม่ในวันนั้น และทนายความคนใหม่
มอบฉันทะให้เสมียนน าค าร้องมาขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายความคนใหม่ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
ตั้งแต่ก่อนถึงวันนัดที่ ๓ นี้แล้ว ๕ วัน และอีก ๕ วันจะต้องผ่าตัดตามใบรับรองแพทย์ และนัดที่ ๓ นี้
ไม่มีพยานมาศาล พฤติการณ์จ าเลยดังกล่าว ถือว่าไม่เอาใจใส่ หรือไม่ให้ความส าคัญกับคดี
ของจ าเลยเท่าที่ควร ถือได้ว่าจ าเลยประวิงคดีให้ชักช้า ศาลไม่ให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่ติดใจ
สืบพยาน (ฎีกาที่ ๑๖๔๔/๒๕๓๐)
การพิจารณาว่าประวิงคดีหรือไม่ ไม่ได้ค านึงแต่เพียงว่าการสืบพยานในคดี
นั้น ว่าจะมีการสืบปากเดียวหรือหลายปาก ไม่ค านึงว่าทุนทรัพย์ว่ามากหรือน้อยเพียงใด แต่พิจารณาว่า
คู่ความเอาใจใส่ที่จะสืบพยานเพื่อให้คดีเสร็จไปโดยเร็วเพียงใด จ าเลยแถลงว่าจะสืบพยานปาก
เดียว แต่ขอเลื่อนคดีหลายครั้งเป็นเวลาหลายเดือนจนศาลต้องก าชับ แต่จ าเลยก็ขอเลื่อนคดีอีก
พฤติการณ์ของจ าเลยเป็นการประวิงคดี (ฎีกาที่ ๔๔๘/๒๕๔๐
ข้อสังเกต
การที่คู่ความแถลงว่านัดหน้าหากพยานไม่มาก็ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน
ดังนี้ต้องผูกพันตามข้อที่ตนแถลง
จ าเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานจนพ้นก าหนดตามมาตรา ๘๘ ย่อมไม่มีสิทธิ
น าพยานเข้าสืบ ศาลสั่งงดสืบพยานและนัดฟังค าพิพากษาโดยไม่มีค าสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดี
ของจ าเลยเท่ากับไม่อนุญาตให้จ าเลยเลื่อนคดีแล้ว (ฎีกาที่ ๓๗๑๗/๒๕๓๘)