Page 4 - การจัดดอกไม้
P. 4
ขันหมาก ดังนี้เรียกว่า พานขันหมาก”
ในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มต้นรัชกาลสืบมา งานฝีมือด้านประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นที่ยอมรับในฝีมือและมี
ชื่อเสียงมาก เป็นที่นิยมประดิษฐ์ จัดดอกไม้สดในงานต่างๆ ทั่วไป โดยเฉพาะในพระราชพิธีต่างๆ ในสมัย
รัชกาลที่ 5ทรงมีพระราชนิยมการท าดอกไม้มากมาย จัดดอกไม้มากมาย จัดถวายให้ทรงใช้ในงานนั้นๆ เสมอ
พระมเหสีเทวีทุกต าหนัก ใฝ่พระทัยในการจัดดอกไม้ไปตามๆกัน แต่ละพระองค์ต่างก็มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ
ตามๆกัน สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ (พระพันปี หลวง) ครั้งด ารงพระอิสริยยศเป็น
พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯให้ฝึกอบรมข้าหลวงและครูโรงเรียนราชินีให้รู้จักท าดอกไม้แห้งแทน
ดอกไม้สดด้วย ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการท าดอกไม้เป็นอันมาก พระองค์เองก็ใช้เวลาว่างประดิษฐ์ดัดแปลงการท า
ดอกไม้แบบเก่าๆ ให้แปลกพิสดารไปอีกมีพระนามเลื่องลือในการร้อยมาลัยมะลิเป็นมาลัยสีขาวกลม ซึ่งเป็น
มาลัยธรรมดาไม่มีลวดลายและต่อมาได้พลิกแพลงมาเป็นมาลัยสลับสีเป็นมาลัยเกลียว ซึ่งมีความสวยงามและ
เป็นลวดลายสีสันขึ้น
หนังสือชุดมรดกไทย “สัญลักษณ์วันแม่ ชื่อมะลิ” (มณีรัตน์ จันทนะผะลิน, 2526)ได้เขียนประวัติและ
ที่มาได้น ามาเป็นข้ออ้างอิงโดยได้กล่าวถึงประวัติเริ่มต้นของคนไทย ที่รู้จักการน าดอกไม้มาร้อยเป็นพวงมาลัย
ไว้ตอนหนึ่งในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน ดังนี้ “แต่โบราณสมัยก่อนกรุงสุโขทัย บรรพบุรุษของไทยได้
คิดประดิษฐ์ ใบไม้ เป็นแบบต่างๆ มากมายแต่ไม่ผู้ใดจดบันทึกไว้ในอนุชนรุ่นหลังได้ค้นคว้า จนถึงสมัยสมเด็จ
พระร่วงเจ้ามีนางนพมาศซึ่งเป็นพระสนมเอกในสมัยนั้น ได้จดบันทึกเรื่องราวของตนเองไว้ นางเองเป็นหญิง
นักปราชญ์ มีความรอบรู้ในพิธีการต่างๆ งานประดิษฐ์ งานฝีมือและอื่นๆ ตลอดจนมีความรู้ทางหนังสือ ด้วย
ความปรีชาสามารถของนางนพมาศ เราจึงได้มีโอกาสทราบว่า การจัดดอกไม้ของไทยมีจุดเริ่มต้นแต่สมัยนั้น
เป็นต้นมา”