Page 3 - Zero Waste by Envi-YRU
P. 3
คำนำ
ในปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของทุกประเทศทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้น
ทั้งปัญหาอากาศเป็นพิษ การเกิดภัยธรรมชาติ การสูญเสียป่าไม้ การเสื่อมคุณภาพของดิน น้ำเสีย
และการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูล เนื่องจากการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้ขยะมีปริมาณ
เพิ่มมากขึ้น และขยะเหล่านั้นบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จึงกลายเป็น
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ
็
ปัญหาขยะในชุมชนมีความสำคัญเปนอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข วิธีการหนึ่งที่จะช่วย
แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ คือ การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการเริ่มต้นจากการ
เตรียมความพร้อมของประชาชนในระดับครัวเรือนให้มีศักยภาพในการแก้ปัญหา โดยสามารถเริ่ม
จากเยาวชนและผู้ปกครองของเยาวชนในแต่ละครัวเรือนให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการ
จัดการขยะในครัวเรือน ให้รู้จักวิธีการลดปริมาณการผลิตขยะด้วยการนำกลับไปใช้ใหม่ และการ
คัดแยกขยะเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การนำวัสดุที่มีมูลค่าไปขาย การนำเศษอาหาร
ุ๋
ไปทำปยหมักชีวภาพ เป็นต้น ดังนั้น การเผยแพร่ความรู้ด้าน การจัดการขยะในระดับครัวเรือนซึ่ง
เป็นหน่วยย่อยที่สุดของชุมชน จึงเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถช่วย
ให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน แนวทางหนึ่งที่สามารถ
ดำเนินการได้ คือ ขยะฐานศูนย์ (Zero Waste) ซึ่งเป็นแนวทางในการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง
ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ โดยใช้หลักการ 3Rs (Reduce - Reuse
- Recycle) ที่เน้นการลด การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ก่อนนำไปกำจัด
่
ดังนั้นจึงได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการ การจัดการขยะแบบมีสวนร่วม “ขยะฐานศูนย์” ขึ้น
เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมใน
การจัดการ ขยะมากขึ้น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกิจกรรมลด คัดแยก นำกลับขยะ
ื่
มาใช้ประโยชน์ และรวบรวมขยะเพอส่งไปกำจัดอย่างถูกวิธี รวมถึงปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องการลด
การคัดแยก และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ตั้งแต่ต้นทาง โดยสร้างระบบการเรียนรู้ผ่าน
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนร่วมกับวิถีชีวิตและความ
เป็นอยู่ของคนไทยในยุคปัจจุบันมาใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะภายในชุมชน
เพื่อให้เป็นชุมชนที่ปราศจากขยะ รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาขยะอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความ
ยั่งยืนในอนาคต
คณะผู้จัดทำ