Page 110 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 110
109
เฉลยแบบฝึกหัด
หน่วยที่ 3 เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
แนวค าตอบ
1. ขั้นตอนการใช้โปรแกรมภาษาซีเพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ มี 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การเขียน โค้ดโปรแกรม (Source Code) เป็นขั้นตอนของการเขียนชุดค าสั่งตาม
โครงสร้างของภาษาซี และท าการบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .cpp เช่น ex1.cpp เป็นต้น
ขั้นที่ 2 การคอมไพล์โปรแกรม (Compile) เป็นการน าโค้ดโปรแกรม (Source Code) มาท า
การคอมไพล์ (Compile) โดยใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) เพื่อแปลจาก
ภาษาซีที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ในขั้นตอนนี้คอมไพเลอร์จะท าการ
ตรวจสอบ โค้ดโปรแกรม (Source Code) ว่าเกิดข้อผิดพลาดหรือไม่
- หากเกิดข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์ (Compiler) จะมีข้อความแจ้งให้ผู้เขียน
โปรแกรมทราบ ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องกลับไปแก้ไขโปรแกรมและท าการคอมไพล์ (Compile)
โปรแกรมใหม่อีกครั้ง
- หากไม่พบข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์ (Compiler) จะแปลไฟล์โค้ดโปรแกรม
(Source Code) จากภาษาซีไปเป็นภาษาเครื่อง (ไฟล์นามสกุล .obj) เช่น ถ้าไฟล์โค้ดโปรแกรม
(Source Code) ชื่อ ex1.cpp ก็จะถูกแปลไปเป็นไฟล์ ex1.obj ซึ่งเก็บภาษาเครื่องไว้ เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การสร้าง Executable Program โดยการเชื่อมโยง(Link) เข้ากับไลบรารีฟังก์ชั่น
(Library Function) ของภาษาซีก่อน ซึ่งผลจากการเชื่อมโยงจะท าให้ได้ Executable Program
(ไฟล์นามสกุล .exe เช่น ex1.exe) ที่สามารถน าไปใช้งานได้
ขั้นที่ 4 การประมวลผล (Run) เมื่อน า Executable Program มาประมวลผลก็จะได้
ผลลัพธ์ (Output) ของโปรแกรมออกมาตามค าสั่งที่เขียนออกแบบโปรแกรมไว้
2. โครงสร้างของภาษาซีแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1) ส่วนหัวของโปรแกรมเรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์
กระท าการใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม เช่น #include <stdio.h> #include <conio.h> ใช้
บอกกับคอมไพเลอร์ให้น าเฮดเดอร์ไฟล์ (Header File)ที่ระบุ เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดย
การก าหนด Preprocessing Directive นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ และสามารถเขียน
ได้ 2 รูปแบบ คือ
#include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> เรียกไฟล์ใน Directory ที่ก าหนดโดยคอมไพล์เลอร์
#include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์” เรียกไฟล์ใน Directory ทีท างานอยู่ในปัจจุบัน
2) ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก
ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรม
จะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกก าหนดด้วยเครื่องหมาย { (ปีก
กาเปิด)เริ่มต้นการท างานของฟังก์ชั่น และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } (ปีกกาปิด)