Page 20 - การวางแผนงานวิจัย โครงร่างงานวิจัย
P. 20
12) ภาคผนวก (Appendix)
สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล
เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่
ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
- ตารางหุ่น (Dummy tables)
ตารางหุ่น (Dummy table) เป็นตารางเปล่าที่มีรูปแบบเสมือนกับจะน าเสนอในผลการ
ศึกษาวิจัย เว้นไว้เฉพาะตัวเลข ในโครงร่างงานวิจัยตารางเปล่านี้ควรจะแนบไว้ในภาคผนวก
เสมอ สิ่งนี้นับว่ามีความส าคัญอย่างยิ่งที่จะพิจารณาก่อนที่จะเริ่มเก็บข้อมูลว่าตารางที่เรา
ต้องการที่จะน าเสนอนั้นช่วยให้อธิบายหรือตอบค าถามการวิจัยได้อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้
สามารถเก็บข้อมูลได้ไม่มากหรือน้อยเกินไป และยังช่วยให้ประหยัดเวลาในการประมวลผล
ข้อมูลได้อีกด้วย
ตารางหุ่น ต้องมีรูปแบบการน าเสนอที่ถูกต้องตามลักษณะข้อมูล และมีลีลา (Style) การ
น าเสนอที่ยอมรับกันทั่วไป โดยมีการออกแบบให้สอดคล้องกับ
รูปแบบการวิจัย การวิจัยแต่ละรูปแบบจะมีการวางตารางการแสดงผลที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง
ตารางข้างล่างเป็นการแสดงตารางหุ่นตามรูปแบบการศึกษาเช่น การศึกษาเชิงพรรณนา case-
control, cohort หรือการศึกษาเชิงทดลอง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ต้องมีการแสดงตัวแปรของการศึกษาโดยเฉพาะตัวแปรที่เป็น
วัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงร่างการวิจัยต้องแสดงไว้ในตารางหุ่นทั้งหมด โดยทั่วไปจะแสดง
ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เช่น เพศ อายุ โรคร่วม ฯลฯ ก่อน จากนั้นจึงตามด้วยการ
น าเสนอตารางเพื่อตอบวัตถุประสงค์ โดยน าเสนอมาตรวัดต่างๆเช่น odds ratio, risk ratio,
hazard ratio, หรือ effect ที่เกิดขึ้นแล้วแต่กรณี
การทดสอบสมมุติฐาน มีการระบุค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์อย่างถูกต้องเหมาะสม กรณีการศึกษาวิจัย
เชิงวิเคราะห์ ต้องแสดงการเปรียบเทียบลักษณะตัวแปรระหว่างกลุ่มเช่นกลุ่มทดลองและกลุ่ม
ควบคุมในการศึกษาเชิงทดลองเป็นต้น
ตัวอย่างตารางหุ่น
1. ตารางแสดงการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study)
การศึกษาเชิงพรรณนาเป็นการอธิบายลักษณะประชากรดังนั้นไม่มีการทดสอบสมมุติฐาน
ดังนั้น ตารางที่ 1 มักจะเป็นการแสดงลักษณะทั่วไปของประชากร
่
เช่นตัวอย่างการศึกษาที่มีค าถามวิจัยว่า “ลักษณะของผู้ปวย HIV/AIDS ที่เกิดภาวะไขมัน
กระจายตัวผิดปกติ (Lypodystrophy) เป็นอย่างไร”
20