Page 15 - ชุดการสอนเฟยยยยยยยยยย
P. 15
สมาชิกเริ่มแรกของอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลัง
ยุคสงครามเย็น อาเซียนได้พยายามสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยมี
เป้าหมายที่จะขยายจ านวนประเทศสมาชิกให้เป็น 10 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีประเทศ
อื่นๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิก ได้แก่ บรูไนใน ค.ศ. 1984 เวียดนาม ใน ค.ศ. 1995 ลาวและพม่าใน ค.ศ. 1997
กัมพูชาใน ค.ศ. 1999
อาเซียนมีประชากรกว่า 500 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร การประชุม
สุดยอดผู้น าอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 4 เมื่อ ค.ศ. 1992 เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงว่าด้วย
การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free
Trade Area: AFTA) ขึ้น และส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชีย และนับตั้งแต่
ค.ศ. 1997 เป็นต้นมา อาเซียนได้เสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินด้วย
1. แถลงแนวทางในอนาคตของอาเซียนเมื่อถึง ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020)
2. จัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน
(ASEAN Finance Ministers Meeting: AFMM)
3. ริเริ่มความร่วมมือในการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก (ASEAN Surveillance
Process) และความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี
ใน ค.ศ. 1999 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้แถลงแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan
of Action) ซึ่งประกอบด้วย 11 แผนงาน รวมทั้งอนุมัติแผนด าเนินการทางด้านการเงินการคลังอาเซียน
(ASEAN Finance Work Programme 1999 - 2003) และแบ่งสรรหน้าที่ให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบ
อาเซียนมีส านักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ท าหน้าที่เป็นเลขานุการ
ให้แก่การประชุมอาเซียน รวมทั้งประสานงานและเสริมสร้างการด าเนินการตามนโยบาย โครงการและ
กิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน
อาเซียนมีการจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers
Meeting: AFMM) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN
Finance and Central Bank Deputies Meeting: AFDM) 2 ครั้งต่อปี โดยประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกัน
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม