Page 8 - ชุดการสอนเฟย123
P. 8
เพิกเฉยต่อบทบาทหน้าที่ขององค์การสันนิบาตชาติหรือลาออกจากการเป็นสมาชิก ซึ่งเป็นความล้มเหลวของ
องค์การสันนิบาตชาติ
การตั้งสมาคมนานาชาติที่เรียกว่าสันนิบาตชาติ (League of Nations) เพื่อวัตถุประสงค์ ดังกล่าวนี้
เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ลงนามกันที่พระราชวังแวร์ซาย ใน ค.ศ. 1919 แต่
เนื่องจากมาตรา 10 ซึ่งระบุว่าชาติสมาชิกจะร่วมมือกันเพื่อรักษาเอกราชของชาติสมาชิก และหากจ าเป็นก็จะ
ร่วมมือกันต่อสู้กับชาติรุกราน ซึ่งมีนัยว่าเป็นการเข้าสงคราม จึงท าให้วุฒิสภาของสหรัฐฯ ไม่ยอมให้สัตยาบัน
แก่องค์การสันนิบาตชาติ แต่ถึงแม้สหรัฐฯ จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ สหรัฐฯ ก็เข้าร่วมประชุมและ
สนับสนุนกิจกรรมของสันนิบาตชาติอย่างไม่เป็นทางการ การขาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมหาอ านาจส าคัญเป็นสมาชิก
ท าให้องค์การสันนิบาตชาติขาดความเข้มแข็งที่ควรจะเป็น
องค์การสหประชาชาติ (United Nations)
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝ่านสัมพันธมิตรไดเหาวิธีป้องกันมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกนายกรัฐมนตรี
เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ แห่งอังกฤษ และประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกัน
ประกาศกฎบัตรแอตแลนติก ต่อมาประเทศต่างๆ รวม 26 ประเทศได้ให้ค ารับรองต่อกฎบัตรแอตแลนติก
องค์การสหประชาชาติได้รับการก่อตั้งจากการประชุมนานาชาติที่นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึงวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1945 ในการประชุมครั้งนี้สมาชิก
ได้ร่วมกันร่างกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งมี 50 ประเทศร่วมลงนามรับรองการก่อตั้งองค์การนานาชาติใน ค.ศ.
1945 และมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา จึงถือว่าวันที่ 24 ตุลาคมของทุกปีเป็นวัน
สหประชาชาติ โดยมีส านักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาและมีส านักงานสาขาอยู่ในหลาย
ประเทศ
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง
1. รักษาสันติภาพและความปลอดภัยของนานาชาติ
2. พัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างนานาประเทศ
3. ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเสรีภาพ ขั้นพื้นฐาน
4. เป็นศูนย์ประสานงานกิจกรรมของชาติต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้