Page 4 - ชุดการสอนหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 (กิตติธัช 013)
P. 4

รูปแบบของรัฐ

                       รูปแบบของรัฐพิจารณาได้จากประมุขของรัฐ แบ่งเป็น 2   รูปแบบ ได้แก่ ราชอาณาจักร หรือราชาธิปไตย

               และ สาธารณรัฐหรือมหาชนรัฐ รูปแบบของรัฐพิจารณาจากโครงสร้างของอ านาจรัฐ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

                       1. รัฐเดี่ยว เป็นรัฐที่มีรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียวเป็นผู้ใช้อ านาจอธิปไตยปกครองอาณาเขต หรือดินแดนทั้งหมด

               ประชาชนที่อยู่ในรัฐถือว่าอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน รัฐอาจจะจัดระบบการปกครองให้มีหน่วยปกครองระดับรองกระจายอยู่
               ตามส่วนต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อให้บริการหรือให้ความสะดวกแก่คนในรัฐ รัฐเดี่ยวนี้แม้จะมีการจัดตั้งหน่วยงานปกครองท้องถิ่น

               เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครอง หรือด าเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในท้องถิ่น แต่ก็เป็นรูปแบบของการปกครอง

               ตนเอง หน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ตราขึ้นมาจากส่วนกลาง คือ การปกครองส่วนท้องถิ่น
               ต้องมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุม การปกครองตนเองจะมีอ านาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรัฐบาลแห่งชาติว่ามีความต้องการ

               กระจายอ านาจเพียงใด กล่าวคือ อ านาจอธิปไตยมีศูนย์รวมอยู่ที่รัฐบาลในส่วนกลาง จึงท าให้การด าเนินงานของรัฐไม่ว่าจะเป็น

               การวางนโยบายหรือการบริหารต้องขึ้นอยู่กับการก าหนดและควบคุมดูแลของรัฐบาลกลางเป็นหลัก การปกครองแบบนี้มัก
               เกิดขึ้นในประเทศที่มีอาณาเขตไม่กว้างขวางมาก ท้องถิ่นมีลักษณะไม่ต่างกันมาก และประชาชนในรัฐมีความเกี่ยวข้องผูกพัน

               กันในทางประวัติศาสตร์ เช่น ไทย ฝรั่งเศส ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ เป็นต้น


                          2. รัฐรวม รัฐประเภทนี้ได้แก่ การที่รัฐอย่างน้อย 2 รัฐมารวมกันเป็นรัฐเดียว โดยแบ่งการใช้อ านาจ


               อธิปไตยออกเป็นสัดส่วน มีรัฐบาล 2 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลาง กับรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลทั้ง 2 ระดับต่างมี
               อ านาจหน้าที่ของตนโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยทั่ว ๆ ไป รัฐบาลกลางของรัฐรวมจะใช้อ านาจอธิปไตยใน


               ส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของรัฐทั้งหมด หรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนรวมของรัฐ เช่น การติดต่อกับ
               ต่างประเทศ การรักษาความมั่นคงของชาติ การเงินและการคลัง เป็นต้น ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นมีอ านาจในการ


               ด าเนินกิจการอันเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นโดยเฉพาะ เช่น การจัดการศึกษา การรักษาความสงบภายใน การรักษา
               สุขภาพของประชาชนเป็นต้น รัฐรวมประกอบด้วยหลาย ๆ รัฐเข้ามารวมกันเป็นรัฐประชาชาติใหญ่ เรียกว่า


               สหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยมลรัฐต่าง ๆ ถึง 50 มลรัฐ สาธารณรัฐเยอรมนี มีรัฐต่าง ๆ รวมกัน
               ถึง 16 รัฐ เป็นต้น รัฐธรรมนูญของรัฐรวมหรือสหพันธรัฐแบ่งแยกอ านาจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น


               ออกจากกันอย่างเด่นชัดว่า รัฐบาลใดมีขอบเขตของอ านาจหน้าที่อย่างไร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความขัดแย้งอัน
               อาจจะเกิดขึ้นได้ ปกติรัฐที่มีการปกครองแบบรัฐรวม มักจะเป็นรัฐหรือประเทศใหญ่ มีอาณาเขตกว้างขวาง


               มีภูมิประเทศและสภาพท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย ออสเตรเลีย บราซิล สหรัฐอเมริกา

               แคนาดา อินเดีย เป็นต้น
   1   2   3   4   5   6   7   8   9