Page 23 - การวิจัยทางการศึกษา
P. 23

22

               1.5 จรรยาบรรณของนักวิจัย
                      "นักวิจัย" หมายถึง ผู้ที่ด าเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อตอบ

               ประเด็นที่สงสัยโดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้องระเบียบวิธี
               ดังกล่าวจึงครอบคลุมทั้งแนวคิดมโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์

               ข้อมูล

                      "จรรยำบรรณ" หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและ
               จริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก

               เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้นๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ

               ของสาขาวิชาชีพของตน
                      สภาวิจัยแห่งชาติจึงก าหนด "จรรยำบรรณนักวิจัย" ไว้เป็นแนวทางส าหรับนักวิจัย

               ยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การด าเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของจริยธรรมและหลักวิชาการที่

               เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและ
               เกียรติภูมิของนักวิจัยไว้ 9 ประการดังนี้

                   1.  นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
                   2.  นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกิจที่มีต่อข้อตกลงในการวิจัย ต่อหน่วยงานที่สนับสนุน

                      การวิจัยและต่อหน่วยงานที่สังกัด

                   3.  นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ท าวิจัย
                   4.  นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

                   5.  นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษย์ที่เป็นตัวอย่างในการวิจัย
                   6.  นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการท าวิจัย

                   7.  นักวิจัยต้องน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ

                   8.  นักวิจัยต้องเคาระความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
                   9.  นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28