Page 306 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 306
300
ความตกลงว่าด้วยการเปิดเสรีบริการการขนส่งสินค้าทางอากาศ
กรอบความตกลงว่าด้วยการอํานวยความสะดวกการขนส่งข้ามแดน
2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของ
อาเซียน จะจัดทําขึ้นเพื่อกําหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนา ICT ในอาเซียน
2.6 พลังงาน ปัจจุบันอาเซียนได้ลงนามและให้สัตยาบันบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการ
เชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียนแล้ว เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานร่วมกันในภูมิภาค และให้การ
รับรองความตกลงว่าด้วยความมั่นคงด้านปิโตรเลียม ซึ่งจะส่งเสริมความสามารถในการตอบสนองของ
ประเทศสมาชิกต่อกรณีฉุกเฉินด้านพลังงานและลดผลกระทบจากภาวการณ์ดังกล่าวร่วมกัน
3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
3.1 การพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและขยายตัวของธุรกิจ อาเซียนตระหนัก
ถึง บทบาทของธุรกิจต่อการดําเนินงานไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงจัดทํายุทธศาสตร์โดยจัดทํา
หลักสูตร การฝึกอบรมผู้ประกอบการที่ใช้ร่วมกันในประเทศสมาชิกอาเซียน (ปี 2547-2557)
3.2 ความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) มาตรการสําคัญ เพื่อ
ลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน คือการดําเนินงานตามแผนงาน IAI โดย
แผนงานระบุความต้องการของประเทศ CLMV ประกอบด้วยโครงการความร่วมมือในสาขาต่างๆ ที่ระบุไว้
ในแผนงานทั้ง 3 เสาหลัก
4. การบูรณาการกับเศรษฐกิจโลก การจัดทําเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement:
FTA) และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (Comprehensive Economic Partnership: CEP) มีการรวม
กลุ่มกับเศรษฐกิจโลกโดยจัดทํา FTA และ CEP กับประเทศคู่เจรจา
1. เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area: EAFTA) ได้แก่ อาเซียน
รวมกับจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น (อาเซียน+3)
2. ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมกว้างขวางในเอเชียตะวันออก
(Comprehensive Economic Partnership on East Asia: CEPEA) ได้แก่ อาเซียน+3 รวมกับอินเดีย
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์