Page 269 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 269
ส่วนที่ ๓ หน้า ๒๕๗
อนึ่ง ในการหารือดังกล่าว คณะกรรมาธิการได้ทบทวนบทบาทของสตรีในรัฐสภาของประเทศไทย
ว่ามีบทบาทในการเมืองมากขึ้น เห็นได้จากการที่มีสตรีที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนและได้รับ
การเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ านวน ๘๓ คน จากจ านวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด
๔๙๙ คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๑๖.๓ ของจ านวนสมาชิกทั้งหมด และมีสมาชิกสตรีได้รับเกียรติให้ด ารงต าแหน่ง
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจ าสภาผู้แทนราษฎร จ านวน ๕ คน ซึ่งมีรายนาม ดังนี้
ิ
๑. นางมุกดา พงษ์สมบัติ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พการ
กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
๒. นางกันตวรรณ ตันเถียร ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
๓. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี ประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม
๔. นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
๕. นางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชน โทรคมนาคม
ดิจิทัลและเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีและสมาชิกวุฒิสภาสตรีได้ร่วมกันก่อตั้ง
ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย ซึ่งผู้ก่อตั้งคือ นางปวีณา หงสกุล และโดยคุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์ และ
ื่
นางนิภา พริ้งศุลกะ จัดท าข้อบังคับชมรม โดยชมรมนี้มีวัตถุประสงค์เพอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง
ั
สมาชิกสตรี มีภารกิจในการส่งเสริมและพฒนาบทบาทของสตรีให้มีส่วนร่วมในการพฒนาการเมือง การ
ั
ปกครอง และยกย่องเชิดชูเกียรติของสมาชิกสตรีที่ได้บ าเพ็ญประโยชน์ประกอบคุณงามความดี และได้มีการ
จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรวมพลังด าเนินกิจกรรมด้านสตรี และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาสตรี
และสถาบันครอบครัวให้เป็นรากฐานที่เข้มแข็งของสังคมต่อไป
โดยที่ผ่านมามีประธานชมรม ๘ คนได้แก่ นางปวีณา หงสกุล , นางนิภา พริ้งศุลกะ ,
คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์ , ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ , คุณหญิงจินตนา สุขมาก , นางมารีรัตน์
ั
็
แก้วก่า , นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ , นางฟาริดา สุไลมาน และนางวันเพญ พร้อมพฒน์ ทั้งนี้ หลังจาก
เกิดการว่างเว้นทางการเมือง ชมรมฯ ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งประธานชมรมคนใหม่
ทั้งนี้ สมาชิกสตรีในรัฐสภาไทยยังมีบทบาทในการเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุม
คณะกรรมาธิการด้านกิจการสตรีของสมัชชารัฐสภาอาเซียน (Meeting of Women Parliamentarians
ิ
of AIPA : WAIPA) ในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ โดยมีนางพกุลแก้ว ไกรฤกษ์ เป็นประธานการประชุม
ในระหว่างการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๔๐ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๒๕ - ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒
ในการนี้ ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุม WAIPA ได้เสนอร่างข้อมติเรื่องการสนับสนุน
ความเท่าเทียมทางเพศและการเสริมสร้างศักยภาพของสตรีในอาเซียน (Promoting Gender Equality
ิ
and the Empowerment of Women in ASEAN) พร้อมกันนี้ ประเทศฟลิปปินส์ได้น าเสนอร่างข้อมติ เรื่อง
การลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ าทางเพศในด้านเทคโนโลยี (Closing the Gender Gap in Technology-Based
Disciplines) ด้วย ซึ่งที่ประชุม WAIPA ได้มีมติเห็นชอบและให้น าเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมาธิการ
ยกร่างแถลงการณ์ร่วม ซึ่งได้รับความเห็นชอบและร่างข้อมติทั้งสามข้อของ WAIPA ได้รับการบรรจุในข้อมติ
ื่
ของสมัชชารัฐสภาอาเซียน อันจะเป็นกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภูมิภาค เพอให้อาเซียน
มีความเข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้งเป็นประชาคมอาเซียนที่เจริญรุ่งเรืองต่อไป