Page 19 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 19

13








                       กำรประยุกต์ใช้ ต่อจากขั้นที่ 1 ก็จะเป็นขั้นตอนการปฏิบัติว่าจะทําโดยวิธีใด เพื่อให้

         งานนั้นสําเร็จ และบรรลุตามเป้าหมายและกําหนดไว้ ซึ่งเป็นทักษะ ความสามารถและประสบการณ์ใน

         การทํางาน ของแต่ละคน โดยจะเป็นตัวชี้วัดให้ทราบว่าแต่ละคนจะมีวิธีคิดในการทํางานอย่างไรบ้าง

                       กำรตรวจสอบกำรปฏิบัติตำมแผน (C=Check) คือ การตรวจสอบและรายงานผล

         การดําเนินงาน ตามแผนว่าเมื่อดําเนินงานตามแผนแล้วมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น  จําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข

         แผนงานในขั้นตอนใด เป็นการประเมินเป้าหมายชีวิตที่วางแผนไว้
                       ตัวอย่ำงที่ 3    จากตัวอย่างที่ 2 เมื่อได้ปฏิบัติตามแผนแล้ว ก็จะตรวจสอบผลการดําเนินงาน
         และพบว่า

                        1. มีจุดคุ้มทุนหรือระยะคืนทุนของธุรกิจน้ ำดื่มสมุนไพรนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่ำงๆ เช่น

          ขนาดธุรกิจ ปริมาณลูกค้า การแข่งขันในตลาด และความสามารถของผู้ประกอบการในการดําเนินธุรกิจ

          โดยปกติระยะ เวลาการคืนทุนของธุรกิจเครื่องดื่มสมุนไพรขนาดเล็กนี้จะประมาณ  2-3 ปี ถ้าเป็นธุรกิจ

         ขนาดกลางถึง ขนาดใหญ่ ระยะคืนทุนของธุรกิจจะอยู่ประมาณ 3-5 ปี

                       2. วิธีประหยัดต้นทุนในกำรผลิต

                       • ควรสั่งซื้อวัตถุดิบหรือบรรจุภัณฑ์จํานวนมาก เพื่อจะได้ราคาต่ํา ทั้งนี้ ควรคํานึง

          ปริมาณขายด้วย
                       • จัดตารางการดูแลและรักษาเครื่องจักร โดยจัดตารางเวลาเพื่อบํารุงรักษาเครื่องจักร

         ให้มี อายุการใช้งานนานขึ้น การดูแลเครื่องจักรอย่างสม่ําเสมอ  จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการซ่อม

                       • ควรซื้อบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยและมีอายุการใช้งานนาน

                       3. ศึกษาปัจจัยที่ทําให้ธุรกิจประสบความสําเร็จ

                       • การบริการที่ดี ถือเป็นสิ่งสําคัญที่ผู้ประกอบการต้องพัฒนาให้ได้มาตรฐาน  เพราะ

         เครื่องดื่ม สมุนไพรเป็นตลาดที่มีคู่แข่งสูง  และสินค้าไม่แตกต่างกันมาก ดังนั้น สิ่งที่ทําให้ลูกค้าประทับใจคือการ

         บริการ

                       • มีทําเลที่เหมาะสม เส้นทางการขนส่งสะดวก รวดเร็ว สามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้

         ทันเวลา
                       กำรประยุกต์ใช้ เมื่อได้ลงมือปฏิบัติงานนั้นแล้ว ก็จะเข้าสู่การประเมินผลหรือการตรวจสอบ

         การ ทํางานของผู้ปฏิบัติว่า งานที่ทํานั้นผลที่ได้เป็นอย่างไร พิจารณาจากผลงานที่เกิดขึ้นว่าผลงาน อยู่ในเกณฑ์

         เป็นที่น่าพอใจ และมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งอาจจะกําหนดเกณฑ์การประเมินมาใช้ ให้เหมาะสมกับงานที่ทํา
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24