Page 41 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 41

35







           ขั้นตอนของการวางแผนมีดังนี้

                     1. กําหนดเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการหลังเกษียณอายุแล้ว เช่น รายได้ที่ได้รับ บ้าน รถยนต์ เป็น
           ต้น ซึ่งจะเป็นแนวทางวางแผนวัยเกษียณและอาจจะเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมที่เปลี่ยนแปลง

                     2. กําหนดจํานวนเงินสะสมที่ต้องการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภายหลังเกษียณอายุ และเป็นแนวทาง ที่
           จะนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมายได้เงินตามที่ต้องการ

                     3. การจัดทําโครงการลงทุนที่สร้างเงินทุนที่ได้สะสมไว้ให้มีครบตามจํานวนที่ต้องการ และ ควร

           พิจารณาว่าควรนําเงินออมเหล่านี้ไปลงทุนอะไรได้บ้างเพื่อให้เงินที่มีอยู่เพิ่มมากขึ้น


                                     วิธีวางแผนทางการเงินสําหรับการเกษียณอายุ

                           1. ตั้งเป้าหมาย
                           2. คํานวณเงินรวม
                           3. ตรวจสอบปริมาณเงินออมในปัจจุบัน

                           4. ศึกษาวิธีเตรียมเงินออมสําหรับเกษียณ
                 ตัวอย่าง นายรณชัย ปัจจุบันอายุ 30 ปี มีรายได้เดือนละ 25,000 บาท ได้วางแผนการเกษียณ

                 ไว้ดังนี้
                      1. ตั้งเป้าหมาย เป็นคนสูงอายุที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีทั้งกายและใจ
                      2. คํานวณเงินออมดังนี้ อายุที่ตั้งใจจะเกษียณคือ 55 ปี (ปกติเกษียณที่ 60 ปี)

                         - อายุที่คาดหวังไว้ นายรณชัยคาดว่าจะมีอายุยืนถึง 85 ปี (ค่าเฉลี่ยทั่วไปอายุยืน 80 ปี)
                         - จํานวนปีของ  ชีวิตหลังเกษียณอายุ = 85 - 55 = 30 ปี

                         - จํานวนเงินที่คาดว่าจะใช้หลังเกษียณ = 25,000 x 12     = 300,000/ปี
                 รวมจํานวนทั้งสิ้นที่ต้องใช้หลังเกษียณ          = 300,000 x 30    = 9,000,000 บาท
                      3. ตรวจสอบจํานวนเงินออมในปัจจุบันนายรณชัยมีเงินออมทั้งหมดตั้งแต่ทํางานพบว่า

                               - กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่อายุครบ 55 ปี      = 800,000.
                               - เงินฝากธนาคาร, พันธบัตร, ตราสารต่างๆ  = 2,100,000.

                  รวมเงินออม ณ ปัจจุบัน                 = 2,900,000.
                         ดังนั้น      นายรณชัยต้องเตรียมเงินเพิ่ม           = 9,000,000 - 2,900,000
                                                                               = 6,100,000 บาท

                      4. ปัจจุบันนายรณชัยอายุ 30 ปี ตั้งใจเกษียณอายุ 55 ปี จะมีเวลาทํางานและออมเงินได้
                 อีก 25 ปี เฉลี่ยแล้ว ถ้าออมเงินแบบไม่มีผลตอบแทนต้องเก็บเงิน =   6,100,000/25 =

                 244,000/ปี และ 20,333/เดือน หลังจากที่รู้ว่า หากต้องการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีหลัง
                 เกษียณก็ควรเก็บเงินโดยเฉลี่ย 20,333/เดือนนายรณชัยตระหนักถึงความสําคัญ ของการมี
                 ความรู้ด้านการเงิน ถ้าฝากเงินธนาคารที่อัตรา 1-2 % มีอัตราเงินเฟ้อ 4% เท่ากับว่า

                 ผลตอบแทนติดลบ 2-3% เมื่อผ่านไป 1 ปี เงินที่ฝากธนาคารจะมีมูลค่าลดลง 2-3%
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46