Page 72 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 72
66
3. ส่วนลดรับ เป็นตราสารหนี้ที่มีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกเสนอให้
ราคาซื้อจะต่ํากว่าราคาไถ่ถอน เมื่อครบกําหนดผู้ลงทุนจะได้รับมูลค่าไถ่ถอนสูงกว่าราคาซื้อ
ส่วนลดรับ = ส่วนต่ำงระหว่ำงรำคำซื้อและรำคำรับช ำระคืนเมื่อครบก ำหนด
ควำมเสี่ยงจำกกำรลงทุนในตรำสำรหนี
ควำมเสี่ยงในกำรลงทุน หมายถึง การที่ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจริงจากการลงทุน เบี่ยงเบน ไปจาก
ผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ว่าจะได้รับเมื่อแรกเริ่มลงทุน ไม่ว่าผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะมากกว่า หรือน้อยกว่า
ที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น ดังนั้น จึงไม่มีการลงทุนประเภทใดที่ไม่มีความเสี่ยง การลงทุนในตรา
สารหนี้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน แต่ในสถานการณ์ที่นโยบาย การเงินของภาครัฐไม่
ชัดเจน อัตราดอกเบี้ยขยับตัวขึ้นลงมาก ตลาดตราสารหนี้อาจมีความผันผวนและมี ความเสี่ยงสูง การลงทุน
ในตราสารหนี้ก็อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในตราสารทุนก็ได้
ประเภทของความเสี่ยงของตราสารหนี้ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. อัตราความเสี่ยงดอกเบี้ย หรือความเสี่ยงในตลาด (Interest Rate Risk หรือ Market
Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินผันผวน เช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น
อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ของตราสารหนี้ที่ออกใหม่ก็จะสูงขึ้นด้วย ตราสารหนี้ที่ออกมาก่อนหน้าและ มีการซื้อ
ขายในตลาดรองก็จะมีการซื้อขายในระดับราคาที่ลดลง เพื่อดึงให้อัตราผลตอบแทน (Yield) ขยับสูงขึ้นไปอยู่
ในระดับที่เทียบเคียงกันกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ดังนั้น ตราสารหนี้ที่มีอายุนานเท่าใด ที่จะปรับตัวสูงขึ้นใน
อนาคตมากขึ้น หรือมีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (Coupon Rate) ต่ําเท่าใด ตราสารหนี้นั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อ
อัตราดอกเบี้ย
2. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk หรือ Default Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากผู้ออก
ตราสารหนี้ ไม่สามารถชําระดอกเบี้ยหรือชําระคืนเงินต้นได้เต็มจํานวนเงิน หรือตามเวลาที่กําหนดใน
บรรดาตราสารหนี้ทั้งหมดของภาครัฐและภาคเอกชน ตั๋วเงินคลังของรัฐบาลจะไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิต
ในขณะที่ตัวเงิน หุ้นกู้ หรือตราสารหนี้อื่นๆ
3. อํานาจในการซื้อหรือความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation Risk) เป็นความเสี่ยงต่อ
การมีอํานาจซื้อที่ลดลงในอนาคต ภาวะเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่ออํานาจซื้อของผู้ลงทุน ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ ที่มี
อายุเกินกว่า 10 ปี จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและอํานาจซื้อที่ลดลงในอนาคต เพราะดอกเบี้ย