Page 155 - การเปนผประกอบการ
P. 155
149
4. ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคําสั่งของนายทะเบียน
5. ต้องอํานวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจสอบสํานักงานของ
ผู้ประกอบการ บทกําหนดโทษ
1. ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคํา ไม่ยอมเห
พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบในสํานักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่
จดทะเบียนอันเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็น ไปตาม
พระราชบัญญัติ
2. ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคําร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียน
พาณิชย์ไว้ ที่สํานักงาน ที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทําป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิด
ต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
3. ผู้ประกอบการที่ฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้าหรือกระทําการ
ทุจริต อื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน
พาณิชย์ แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียน
พาณิชย์ ใหม่
4. ผู้ประกอบการที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบการต่อไป มี
ความผิดต้อง ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจํา
กฎหมำยภำษีตำมประมวลรัษฎำกร
ภำษีเงินได้บุคคลธรรมดำ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะ
พิเศษตามที่กฎหมายกําหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กําหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่
เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนําไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่ กําหนดภายใน
เดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไปสําหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกําหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอน
ครึ่งปี สําหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชําระ และเงินได้บาง
กรณี กฎหมายกําหนดให้ผู้จ่ายทําหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้ มีการทยอยชําระ
ภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย