Page 161 - การเปนผประกอบการ
P. 161
155
4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือ
ให้บริการ ในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
5. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกําหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร ผู้ประกอบการที่
ได้รับ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ มีดังนี้
5.1 ผู้ประกอบกิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น
อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สําหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตําราเรียน ฯลฯ
5.2 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
กฎหมาย และมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
5.3 การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน
5.4 การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการ
นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5.5 การให้บริการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร หน้าที่ของผู้ประกอบการ
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกํากับภาษีเพื่อเป็น
หลักฐาน ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. จัดทํารายงานตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งได้แก่
2.1 รายงานภาษีซื้อ
2.2 รายงานภาษีขาย
2.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
3. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10
(ปัจจุบัน อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเหลืออัตราร้อยละ 7.0 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ หรือผู้ประกอบการ จด
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 โดยคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ในแต่ละ
เดือนภาษี ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการดังกล่าวจะประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดา
ภำษีธุรกิจเฉพำะ
เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากร ที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง แทนภาษี
การค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ. 2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม