Page 21 - กลุ่ม3ปรัชญา
P. 21

๑๘


                       ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ได้มีการจัดตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม” ณ ตำหนักเพนียดมณฑลกรุงเก่า

               อีกแห่งหนึ่ง เพื่อฝึกหัดครูกสิกรรมสอนวิชาวิสามัญการฝึกหัดครูกสิกรรมกับการฝึกหัดครูมูลสามัญ เป็นการฝึกหัด

               ครูในระดับเดียวกันแต่ได้แยกกันเรียนคนละแห่งนั้นเนื่องจากการฝึกหัดครูมูลกสิกรรมจำ เป็นต้องมีสถานที่สำหรับ

               ฝึกหัดทำการกสิกรรมด้วยซึ่งบริเวณหลังพระราชวังจันทรเกษมไม่มีสถานที่นั่นเอง


                       ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการยุบ “โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า” ลง ดังนั้น การฝึกหัดครูจึงรวมอยู่ใน

               “โรงเรียนฝึกหัดครูมูล” ตำหนักเพนียดเพียงแห่งเดียวโดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนฝึกหัดครูมูลฝึกหัดครู

               ประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ทางราชการเห็นสมควรให้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครู

               มูลฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จากตำหนักเพนียดไปอยู่ในกรมทหารหัวแหลม เพราะมีสถานที่เหมาะสมกว่า โดย

               แยกเป็น“โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”และ“โรงเรียนฝึกหัดครูสตรี

               ประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” และเปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ และ

               ได้มีการย้ายโรงเรียนออกจากกรมทหาร โดยโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

               ได้ย้ายไปสร้างอยู่ในที่ราชพัสดุติดกับวัดวรโพธิ์ ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี ย้ายไปอยู่ที่ ตำบลหอรัตนไชย

               อำเภอพระนครศรีอยุธยา โดยในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้

               เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา”



                       จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๙ โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน

               พร้อมทั้งได้รับยกย่องขึ้นเป็น “วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา” โดยโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา

               ได้ถูกยุบรวมเข้ามาสังกัดวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นต้นมา


                       เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มี พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย

               เดชมหาราชบรมนาถบพิตรได้พระราชทานนาม “ราชภัฏ” ให้เป็นชื่อใหม่ของวิทยาลัยครู ทั่วประเทศ

               ทำให้วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา” และปี พ.ศ. ๒๕๔๗

               สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา”

               (ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ป.: ออนไลน์;ScorpianPK.  ๒๕๕๐: ออนไลน์)
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26