Page 14 - รายงานปรัชญากลุ่ม3
P. 14

๑๐


               ใช้ชื่อโรงเรียนสตรีวิทยา โดยโรงเรียนมัธยมสตรีวิทยาเริ่มเปิดแผนกฝึกหัดครูหญิง เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ ซึ่งเป็นโรงเรียน

               ที่จัดฝึกหัดครูอีกแห่งหนึ่ง คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (วัฒนาวิทยาลัย) ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๕๓ เปิดมาสอนหลักสูตร

               ฝึกหัดครูสตรี หลังจากนั้นในพ.ศ. ๒๔๘๒ โรงเรียนได้ย้ายมาอยู่ถนนดินสอ หัวมุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนถึง

               ปัจจุบัน (ข้อมูลโรงเรียน.  ม.ป.ป.: ออนไลน์)






























               มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก


                       โรงเรียนเพาะช่าง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา

               โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ

               โรงเรียนเพาะช่าง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ตลอดระยะเวลาที่ทรงรับราชการได้

               บริหารการศึกษาศิลปหัตถกรรมของโรงเรียนเพาะช่างให้เจริญรุ่งเรือง ได้รับความนิยมตั้งแต่พระมหากษัตริย์ จนถึง

               เจ้านาย ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป ตลอดชาวต่างประเทศ ทรงจัดตั้งแผนกช่างทอง แผนกเจียระไนเพชร พลอย

               แผนกทำบล็อกสกรีน โดยเฉพาะเครื่องถม ได้ขยายวิธีการไปอย่างกว้างขวางจนเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จักมาจนถึง

               ปัจจุบันคือ “ถมจุฑาธุช” ทรงจัดให้มีพิธีไหว้ครูช่างแบบอย่างโบราณขึ้นในโรงเรียนเพาะช่างเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.

               ๒๔๖๓ และทรงคิดสีประจำโรงเรียนคือ สีแดง-ดำ สีแดงหมายถึงเลือดของช่าง สีดำหมายถึงไม่ใช่ช่าง เพื่อเป็น

               เครื่องเตือนสติให้ช่างทั้งหลายได้มีเลือดเป็นสีแดง อยู่เสมออย่าให้สีแดงของช่างจางไปหรือกลายเป็นสีดำ ทรงขยาย

               แผนกการค้าทรงสร้างห้องแสดงสินค้าห้องประชุมโรงเรียนจนกระทั่งนำผลกำไร จากการค้าของโรงเรียน ไปสร้าง

               โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง คือ วิทยาเขตอุเทนถวาย ในปัจจุบัน และต่อมา วิทยาเขตอุเทน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19