Page 14 - วารสาร 10 oct 61 21.00 flip pdf
P. 14
Universal Magazine www.Magazine.com
การจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษา เอกชน ผู้ก่อต้ังดังมีรายนามข้างต้น เป็น ไปเพื่อสนองนโยบายทางรัฐบาล ในการ พัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 ถึง 2508) ซ่ึงรัฐบาลมีนโยบายการพัฒนา ประเทศเพ่ือให้เกิดการขยายตัวทางด้าน เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รัฐบาลจึงเปิด โอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษาสายอาชีวศึกษา เพื่อการผลิต กําาลังคนให้สนองความต้องการของตลาด แรงงาน ซ่ึงมีแนวทางความต้องการท่ีเป็น ไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ คุณลักษณะของแรงงานจะต้อง มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับการใช้ เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อขับเคล่ือนเศรษฐกิจ ในทุกมิติ ด้วยวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหาร โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จึงมีความ เห็นร่วมกันในการจัดต้ังชมรมโรงเรียน อาชีวศึกษาเอกชนข้ึนเป็นคร้ังแรกโดยใช้ โรงเรียนพณิชยการเจ้าพระยาเป็นสถาน ที่ประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการพัฒนา ศักยภาพด้านวิชาการ การบริหาร และการ เรียนการสอนอย่างต่อเน่ือง จนสามารถ รวบรวมสมาชิกเพ่ิมข้ึน ขณะเดียวกันการ กระชับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนท่ี เป็นสมาชิกชมรมได้เพ่ิมขึ้นมีความเป็น เอกภาพขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปี พ.ศ. 2516 สมาชิกได้พิจารณา เห็นชอบร่วมกันว่า การดําารงสภาพความ เป็นชมรมยังไม่มีศักยภาพทางกฎหมาย เพียงพอท่ีจะดําาเนินการผลักดันกจิกรรม ต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับการดําาเนินกิจการ ของโรงเรียนให้ประสบผลสําาเร็จอย่าง มีประสิทธิผลเท่าที่ควร ในที่สุดจึงได้มี ความเห็นชอบร่วมกันที่จะดําาเนินการก่อ ตั้งเป็นสามคม ซ่ึงมีสภาพเป็นนิติบุคลตาม กฎหมายขึ้น โดยมีอาจารย์เล็ก บูรณะ สมบัติ เป็นผู้ยื่นคําาขออนุญาตจัดตั้งสมาคม และได้รับการอนุญาตให้จัดตั้งเม่ือวันที่ 4 มกราคม 2517 โดยมีสําานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ท่ีโรงเรียนพณิชยการเจ้าพระเยา มี อาจารย์กุศล เปรมฤทัย ได้รับเลือกเป็น นายกสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
ต่อมาจึงได้รับใบอนุญาตการจด ทะเบียนสมาคมฯ อย่างเป็นทางการ เม่ือวันที่ 15 มีนาคม 2526 จากการ ประชุมประจําาปีสมาชิกท่ัวประเทศ ใน เดือน กุมภาพันธ์ 2527 ณ สโมสรราช นาวีฐานทัพเรือสัตหีบ สมาชิกสมาคม มีแนวคิดที่จะจัดตั้งสําานักงานของ สมาคมเป็นการถาวร โดยมี ดร.สุข พุคยาภรณ์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกล ไทยสุริยะ ได้มอบเงินเป็นทุนเริ่มต้น จําานวน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาท ถ้วน) และในปีต่อมา มีสมาชิกร่วม บริจาคเพิ่มเติม จนสามารถรวบรวม เงินได้เป็นจําานวน 1,149,000 บาท (หน่ึงล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นเก้าพันบาท ถ้วน)
ปี พ.ศ. 2529 คณะกรรมการ บริหารสมาคมมีมติให้ซื้ออาคาร ทที่ าํา การพรอ้ มทดี่ นิ เลขที่ 1097/25-36 นครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในราคา 1,711,739.98 บาท ซ่ึง ดร.พิชัย บูรณะสมบัติ ผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ผู้ ดําารงตําาแหน่งนายกสมาคมในขณะ น้ัน ได้ดําาเนินการทําาสัญญาซ้ือขาย ท่ีดินพร้อมอาคารดังกล่าว เมื่อวัน ท่ี 17 พฤศจิกายน 2529 โดยนายก สมาคมฯ ได้ใช้เงินส่วนตัวให้สมาคม ยืมไปชําาระในส่วนท่ียังไม่ครบจําานวน 564,739.98 บาท (ห้าแสนหกหมื่น สี่พันเจ็ดร้อยสามสิบเก้าบาทเก้าสิบ แปดสตางค์)ตลอดจนจัดหาเคร่ือง ใช้สําานักงาน และออกแบบตกแต่ง สถานที่ซึ่งออกแบบและุตกแต่งภายใน สําานักงานอย่างสวยงาม โดย ดร.พันธ์ ศักดิ์ ว่องกสิกร มีที่ปรึกษาสําาคัญ คือ พล.อ.ท.โภคย ว่องกสิกร ผู้รับใบ อนุญาตโรงเรยนไทยวิจิตรศิลป์ ท้ังนี้ เป็นการออกแบบติดตั้งโดยไม่คิด มูลค่าของการใช้สมองและแรงงานต่อ เน่ือง ต่อมาสมาคมได้ดําาเนินการใช้ เงินจําานวนดังกล่าวไปเป็นท่ีเรียบร้อย แล้ว และในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สมาคม จึงมีสําานักงานเป็นที่ตั้งถาวรจนถึง ปัจจุบัน