Page 21 - kingthai2
P. 21
18
พระราชลัญจกรประจ าพระองค์
พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา
รายพระนามพระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4
พระราชกรณียกิจ
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ด้วยเหตุที่ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ จึงทรง
คุ้นเคยกับชาวตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษเป็นอย่างมาก ทั้งยังเกี่ยวข้องกับเสนาบดีสกุลบุนนาค
เช่นพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์นั้นก็เป็นผู้สนิท
สนมและนิยมอังกฤษ เช่นนี้ในรัชสมัยของพระองค์จึงเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก
อย่างกว้าง ขวาง มีการท าสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงยึดนโยบาย "ผ่อนสั้น
ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอ านาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันท าให้ไทย
สามารถด ารงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตไทยโดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์
เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพ็ชภักดีเป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูต น าพระราชสาส์น
ไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษนับเป็นความคิดริ เริ่มให้มีการเดินทางออก
นอกประเทศได้ เนื่องจากแต่เดิมกฎหมายห้ามมิให้ เจ้านาย พระราชวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่
เดินทางออกจากพระนคร เว้นเสียแต่ไปในการสงครามกับกองทัพ
พระองค์โปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย เช่น เซอร์ จอห์น เบา
ริง อัครราชทูตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถ
วิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาท าสนธิสัญญากับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ.
2398 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ" เป็นกงสุล
ไทยประจ ากรุงลอนดอน