Page 36 - kingthai2
P. 36

33






       พระราชกรณียกิจ

            ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม

              ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดส าหรับ

       พระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่
       บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรมในด้านวรรณกรรม โปรด ตรา

       พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์

       เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ
       การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักค าสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้

       ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาส าหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์

       พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือส าหรับ เด็ก ส่วนการศึกษาในพระพุทธศาสนานั้น โปรดให้สร้าง

       หนังสือพระไตรปิฎก เรียกว่า ฉบับสยามรัฐ โดยหนึ่งชุดมีจ านวน 45 เล่ม เพื่อเป็นอนุสาวรีย์เชิดชู
       พระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

               ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น พระองค์ทรงสถาปนาราชบัณฑิตย์สภาขึ้น (เดิมคือ

       กรรมการหอพระสมุดส าหรับพระนคร) เพื่อจัดการหอพระสมุดส าหรับพระนครและสอบสวนพิจารณา
       วิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อ

       จัดการบ ารุงรักษาวิชาช่างผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริม

       ศิลปวัฒนธรรมของชาติ เป็นอย่างมาก เช่น การตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่
       มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ ทั้งร้อยแก้วและ

       ร้อยกรอง

              ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย
       ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เข้าถวายการฝึกสอนจน

       สามารถ พระราชนิพนธ์ท านองเพลงไทยได้ ถึง 3 เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมร

       ลออองค์เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง

               ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณ
       ดาราราม จังหวัดอยุธยา โปรดฯให้เขียนภาพพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระ

       วิหาร
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41