Page 7 - rattanaporn050+pepnpra049
P. 7

 ในประวัติการสร้างเมือง “เมือง” ของไทย เมื่อ
           ตั้งเมืองได้แล้วจะต้องมีการสร้าง “เสาหลัก
           เมือง” จากนั้นจึงจะสร้างอาคารให้ “เสาหลัก

           เมือง” หรือที่เรียกขานกันในชั้นหลังว่า “ศาล”
           การตั้งเสาและการสร้างศาล จะต้องมีการ

           ประกอบพิธีส าคัญต่างๆก่อน เช่น “พิธียกเสา
           พระหลักเมือง” มีการวาง “ดวงฤกษ์” มีการยก
           พระหลักเมืองและบรรจุดวงเมืองในเสาพระหลัก

           เมือง เช่นกรณีของพระบาทสมเด็จพระพุทธ
           ยอดฟ้ าจุฬาโลกฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

           สร้างและตั้งพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์
           ขึ้น ๑o ค ่า เดือน ๖ ปีขาล จัตวาศก ตรงกับวัน
           อาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ ที่กรุงเทพ ฯ


          ส าหรับเมืองบุรีรัมย์ เอกสารที่เขียนถึงการ

           สร้างเมืองแปะได้มีการอ้างถึงหนังสือ “ประชุม
           พงศาวดารภาคที่ ๗” โดยระบุว่าเมื่อเสร็จ
           ภารกิจที่เมืองจ าปาศักดิ์แล้ว เจ้าพระยาจักรี

           ต่อมาก็คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬา
           โลกฯ เดินทัพมาจนถึงเขตที่ตั้งของเมืองบุรีรัมย์

           วันนี้ พบว่ามีร่องรอยของเมืองร้างตั้งอยู่ในลุ่ม
           น ้าห้วยจระเข้มาก เห็นว่ามีชัยภูมิเหมาะสม จึงให้
           ตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ข้างต้นแปะใหญ่ ที่อยู่ภายใน

           ศาลพระหลักเมืองวันนี้ แล้วให้นามเมืองที่ตั้ง
           ใหม่ว่า “เมืองแปะ”       แต่หนังสือ “ประชุม

           พงศาวดารภาคที่ ๗” บันทึกเฉพาะเรื่องของการ
           ตั้งเมืองแปะเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องของการ
           ตั้ง “ศาลพระหลักเมืองบุรีรัมย์” รวมทั้งหนังสือ

           เล่มอื่นๆในชั้นหลังๆก็ไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้
           เช่นเดียวกัน
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12