Page 12 - 10 แนวทางพัฒนาเพื่อท้องถิ่นพึ่งพาตนเอง (คู่มือปฏิบัติการ)
P. 12
หน้าที่ 11
2. นวัตกรรมซอยซีเมนต์ชนิดต่าง ๆ (ประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้เอนกประสงค์)
2.1 การท าสระซอยซีเมนต์ ความลึกไม่ต่ ากว่า 4 ม. มีความจุไม่น้อยกว่า 1,200 ลบ.ม.
บูรณาการท้าสระซอยซีเมนต์ ร่วมกับโครงการพัฒนาแหล่งน้้าเพื่อการเกษตร-สัตว์ป่าและฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่า
ประชาร่วมใจถวายในหลวง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เพื่อเป็นเหล่งอาหารและน้้าให้กับบรรดาสัตว์ป่า
วัตถุประสงค์
- เพื่อแก้ไขปัญหาสระที่ไม่สามารถเก็บน้ าไว้ได้ เนื่องจากมีอัตราการรั่วซึมที่สูง
- ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของดินในสระโดยเพิ่มความเชื่อมแน่นของดิน เพิ่มความทึบน้ า ลดอัตราการซึม
ผ่าน เพื่อให้สระเก็บน้ าได้ดีขึ้น
- เพื่อปรับปรุงให้สระเป็นแหล่งน้ าส ารองส าหรับการประปาชุมชน แหล่งเก็บน้ าผิวดินกระจายตามพื้นที่
เพาะปลูกหรือเป็นจุดพักน้ าเพื่อรอการจ่ายน้ า ช่วยกระจายความจุของน้ าจากเขื่อนหลักได้ดี ด้วยการลงทุนที่ประหยัด
แต่ได้จุน้ าได้มากกว่ารูปแบบอื่น ๆ
หมายเหตุ - จะต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการก่อสร้างที่ถูกต้อง เพื่อให้สระฯใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์
- เมื่อสระมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นก็จะมีความทึบน้ าที่มากขึ้นอีกด้วย
- ในพื้นที่เป็นดินที่อุ้มน้ าได้ดีหรือมีระดับน้ าใต้ดินที่สูง ก็ไม่มีความจ าเป็นต้องท าสระแบบซอยซีเมนต์
- นอกจากการท าสระซอยซีเมนต์แล้ว ยังสามารถน าไปประยุกต์เพื่อใช้ท าถนนหรือคลองดินแบบ
ซอยซีเมนต์ได้อีกด้วย
ประโยชน์ที่ได้รับ
1) เก็บน้ าได้ดี การรั่วซึมน้อยกว่าสระแบบทั่วไปที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุง ช่วยสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ า
2) มีส่วนช่วยธนาคารน้ าใต้ดินและบ่อเติมน้ าใต้ดินให้มีความมั่นคงในเรื่องน้ าได้อีกด้วย
3) แผนการบริหารจัดการน้ าทางภาคเกษตรกรรมรายย่อย จะมีความมั่นคงอย่างไม่เคยมี มาก่อน
4) เมื่อองค์ความรู้ถูกเผยแพร่ ก็จะมีสระฯเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ท าให้มีแหล่งน้ าผิวดินกระจายตัวออกไป ช่วยลด
ปัญหาการขาดแคลนน้ าในหลายพื้นที่
5) เมื่อมีสระซอยซีเมนต์เป็นจ านวนที่มากขึ้น จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผืนดิน เพิ่มสีเขียว ลดปัญหา
โลกร้อน ลดความรุนแรงของไฟป่าได้ด้วย
6) ช่วยแบ่งเบาความจุของเขื่อนหลักในการช่วยเก็บกักน้ า ยังช่วยเป็นแหล่งรับน้ าจากระบบส่งน้ าฯ และเป็นจุด
พักน้ าเพื่อรอการกระจายน้ าต่อไปได้