Page 18 - การคาและการลงทนระหวางประเทศ_Neat
P. 18

àÍ¡ÊÒûÃСͺ¡ÒÃàÃÕ¹ËÇÁ¡Ñºà·¤â¹âÅÂÕ AR ªØ´ àÈÃÉ°¡Ô¨ÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È  àÅ‹Á 1



                  การลงทุนระหว่างประเทศ  (International Investment)

                            การลงทุนระหว่างประเทศหมายถึง การที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนําเงินไป

                  ลงทุนดําเนินธุรกิจแสวงหาผลกําไรในอีกประเทศหนึ่ง
                         เดิมการลงทุนระหว่างประเทศส่วนใหญ่ เป็นการลงทุนโดยการซื้อขายหลักทรัพย์หรือ

                  พันธบัตรของต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่ขายหลักทรัพย์หรือพันธบัตรมีเงินสําหรับทะเบียนการผลิต
                  สินค้าและบริการ แต่ในปัจจุบันการลงทุนระหว่างประเทศส่วนใหญ่มาในรูปแบบของการดําเนินงาน

                  และมีสถาบันการเงินของเอกชนเป็นผู้จัดหาเงินทุนสําหรับโครงการต่างๆ
                         ทั้งนี้ หากปริมาณเงินทุนภายในประเทศเพียงพอกับความต้องการของเงินทุนเพื่อการสะสม

                  ภายในประเทศ ก็ไม่มีความจําเป็นที่รัฐบาลหรือเอกชนในประเทศนั้นจะต้องไปแสวงหาแหล่งเงินทุน
                  จากภายนอกประเทศ แต่ถ้าปริมาณเงินทุนภายในประเทศมีไม่เพียงพอ ประเทศนั้นก็จําเป็นกู้เงินกับ

                  ต่างประเทศ หรือรัฐบาลอาจต้องหามาตรการจูงใจให้นักลงทุนชาวต่างประเทศมาลงทุนในประเทศ
                  มากยิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าปริมาณเงินทุนหรือเงินออมภายในประเทศมีมากกว่าความต้องการ

                  รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศนั้นอาจทําการปล่อยกู้ หรือนําเงินไปลงทุนในประเทศอื่น
                         ระบบเศรษฐกิจไทยนั้นมีลักษณะของการพึ่งเงินทุนต่างประเทศอยู่บ้าง คือในอดีตรัฐบาล

                  ไม่ได้ให้ความสําคัญกับการปรับปรุงกลไกในการระดมเงินออมภายในประเทศเท่าที่ควร รวมทั้งไม่
                  สามารถจัดเก็บภาษีอากรอย่างเต็มที่ ทําให้รัฐบาลต้องผลักดันให้รัฐวิสาหกิจลดการใช้งบประมาณ

                  ของแผ่นดินและหันไปใช้แหล่งเงินทุนเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศสําหรับโครงการพัฒนา
                  ต่างๆ





                  การกําหนดแนวนโยบายการลงทุนระหว่างประเทศ

                         ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นอกจากจะเกิดจากการติดต่อค้าขายระหว่าง

                  ประเทศ การติดต่อทางการเงินระหว่างประเทศแล้ว ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยัง

                  เกิดจากการลงทุนระหว่างประเทศอีกด้วย
                         ลักษณะการลงทุน

                         1. การลงทุนทางตรง (Direct Investment)
                             การลงทุนทางตรง เป็นการใช้เงินไปลงทุนในโครงการที่คาดว่าจะสามารถทําประโยชน์

                  หรือสามารถสร้างรายได้ในอนาคต เช่น การนําเงินไปซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อเพิ่มกําลังการผลิต
                  การลงทุนทางตรงอาจเป็นการลงทุนในประเทศเอง หรือเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ (foreign

                  direct Investment หรือ FDI) ก็ได้





                                                                                                   ÁÂØÃÕ àʹäÊÂ
                                                                   âçàÃÕ¹àÁ×ͧ¾Å¾Ô·ÂÒ¤Á  ͧ¤¡ÒúÃÔËÒÃʋǹ¨Ñ§ËÇÑ´¢Í¹á¡‹¹
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23