Page 11 - 9 วิชา
P. 11
สืบสานต�นานเรือ สร้างสรรค์ต�นานไทย
หากไม่นับเทศกาลลอยกระทง หนึ่งในประเพณีทางน�้าที่คนไทยคุ้นเคยมากที่สุด ก็คือกระบวนพยุหยาตรา
ชลมารค ซึ่งจะมีเรือหลวงเคลื่อนขบวนไปตามแม่น�้าเจ้าพระยา ฝีพายแต่งชุดเต็มยศ เวลาพายเป็นจังหวะ
จะโคน สอดประสานพร้อมเสียงเห่เรือซึ่งดังกึกก้องทั่วท้องน�้าเพื่อเฉลิมพระเกียรติองค์ประมุขไทย
ความจริงแล้วกระบวนพยุหยาตราเป็นประเพณีโบราณ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จวบจน
ถึงสมัยรัชกาลที่ 7 จึงหยุดชะงักไป ด้วยปัญหาเศรษฐกิจที่สืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ
สภาพการเมืองการปกครองในห้วงเวลานั้น ผ่านมาจนถึงสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเห็นคุณค่า
ของประเพณีเห่เรือนี้ เพราะถึงจะโบราณแต่ก็สะท้อนความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี
ในปีพ.ศ. 2495 พระองค์ ได้เสด็จฯ ไปยังโรงเก็บเรือพระราชพิธีที่คลองบางกอกน้อย ทรงทอดพระเนตร
เห็นเรือหลายล�า อยู่ในสภาพช�ารุดทรุดโทรม จึงมีพระราชด�าริให้ฟื้นฟูเป็นการถาวร โดยชี้ให้เห็นว่าถึงจะ
จัดงานแห่เรือบ่อยขึ้น ก็ไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรนัก เนื่องด้วยฝีพายก็ใช้ก�าลังของทหารเรือ ซึ่งปกติจะฝึกซ้อม
กันอยู่แล้ว เช่นเดียวกับเครื่องแต่งกาย ซึ่งตัดเพียงครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้ตลอด แต่ที่เป็นประโยชน์
มากที่สุดคือประชาชน จะได้เห็นเรือพระราชพิธีต่างๆ ที่สวยงามและทรงคุณค่าทางศิลปะ รวมทั้งยังเป็น
โอกาสอันดีที่เรือจะได้รับการดูแลรักษาให้คงสภาพดีอยู่เสมอ
การจัดขบวนพยุหยาตราชลมารคในรัชกาลที่ 9 เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2500 เพื่อฉลองปีมหามงคล
25 พุทธศตวรรษ และพ.ศ.2502 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม
ถึงจัดเรือได้เต็มขบวน นอกจากนี้ยังโปรดฯ ให้มีการต่อยอดและพัฒนาศิลปะเรืออยู่เสมอ มีการจัดสร้าง
เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งถอดแบบจากเรือพระที่นั่งล�าเดิมที่ช�ารุดเสียหาย เหลือเพียงโขนเรือ
ที่เป็นรูปพระนารายณ์ประทับอยู่บนหลังของพญาครุฑ ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่นี่ ยังมีการจัดขบวนเรือหลวง
ออกแสดงในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
(เอเปก 2003) เมื่อพ.ศ. 2546 ท�าให้ชาวโลกได้ประจักษ์ถึงภูมิปัญญาของชาติไทยที่สั่งสมมานานหลายร้อยปี
ทั้งหมดนี้ก็เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักดีว่าประเพณีวัฒนธรรมคือรากเหง้าของความเป็นชาติ
ดังเช่น พระราชด�ารัสที่ว่า “อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา
และกรุงเทพฯ แล้วประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย” จึงเป็นสาเหตุส�าคัญที่โปรดฯ ให้รื้อฟื้นประเพณีส�าคัญ
มากมาย เพื่อให้คนไทยได้ภาคภูมิใจว่าประเทศนี้อุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ และสมควรที่จะ
ต้องสืบทอดไปยังอนุชนรุ่นหลังไปอีกนานแสนนาน
วิชา ๙ หน้า ศาสตร์พระราชาจากต�ราของพ่อ • ปรุงไทยในใจคน 7