Page 21 - 9 วิชา
P. 21
จาก ‘นครนายก’ สู่ ‘นครนาสมบูรณ์‘
ถึงจะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แต่ก็ไม่ได้อุดมสมบูรณ์อย่างที่ใครๆ คิด ค�าว่านครนายกที่หลายคนเข้าใจว่า
หมายถึงนายกรัฐมนตรี ความจริงแล้วมาจากความแห้งแล้งของพื้นที่ ปลูกข้าวไม่ค่อยขึ้น ปลูกพืชอย่างอื่น
ก็ไม่ค่อยรอด จนทางการต้องยกภาษีที่นาให้เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสังเกตว่า ที่นี่มีปริมาณน�้าไหลผ่านสูงถึง 1,540 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
ทว่าน�้ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์กลับถูกปล่อยลงสู่ทะเลโดยเปล่าประโยชน์ จึงรับสั่งให้กรมชลประทาน
สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อกักเก็บน�้าให้ชาวบ้านไว้ใช้ยามขาดแคลน และเพื่อป้องกันอุทกภัยที่มักเกิดขึ้น
เวลาเข้าหน้าฝน ตลอดจนใช้ส�าหรับระบายน�้าเพื่อชะล้างความเป็นกรดของที่ดินในแถบนี้
ระหว่างนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ มาเยี่ยมราษฎร เพื่อสอบถามถึงสภาพปัญหาที่แท้จริง
รวมทั้งก�าชับชาวบ้านว่าไม่ให้ขายที่ดินเป็นอันขาด โดยตรัสด้วยพระราชอารมณ์ขันว่า เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จ
ก็จะโปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อจังหวัดจาก ‘นครนายก’ เป็น ‘นครนาสมบูรณ์’ แทน
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ใช้เวลาศึกษานานถึง 7 ปี ถึงได้เริ่มก่อสร้างในพ.ศ.2544 เนื่องจาก
พระองค์ทรงตระหนักดีว่า การสร้างเขื่อนแต่ละครั้งหมายถึงการใช้งบประมาณแผ่นดินมหาศาล ยังไม่รวม
ไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและทรัพยากรธรรมชาติในละแวกนั้น จึงใส่พระทัยกับ
ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกสถานที่ โดยย�้าว่าต้องไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหรือ
ป่าสงวนแห่งชาติ รวมไปถึงบ้านเรือนราษฎร เพราะเขื่อนนี้มีไว้เพื่อบรรเทาความทุกข์ ไม่ใช่เพื่อสร้าง
ความเดือดร้อน หรือแม้แต่ขนาดของเขื่อนก็ต้องเก็บน�้าไม่ต�่ากว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนับเป็น
ปริมาณที่สูงเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว
เขื่อนสร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในสิบปีกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่เก็บน�้าสมัยใหม่ของไทย
เพราะถึงจะห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 100 กิโลเมตร แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมใดๆ ทั้ง
ยังมีการน�าเทคนิคและวิทยาการสมัยใหม่มาปรับใช้อย่างลงตัว เช่น แทนที่จะใช้คอนกรีตธรรมดา
ก็โปรดฯ ให้น�าคอนกรีตไปบดอัดกับกากถ่านหินจนมีความทนทานสูง สามารถรองรับเขื่อน
ที่มีความสูงถึง 93 เมตร และยาวกว่า 2.5 กิโลเมตรได้อย่างมั่นคง ที่ส�าคัญกว่านั้นคือ เมื่อสร้าง
เสร็จก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที ผลผลิตในเรือกสวนไร่นาเจริญเติบโตเต็มที่รวมทั้งยังต่อยอด
ไปสู่การจัดพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น�้า และสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อรองรับผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ
ทั้งหมดนี้ก็เพราะพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ใส่พระทัยเรื่องน�้าอย่างจริงจัง และ
ไม่ได้มองปัญหาเพียงเฉพาะหน้า แต่พระองค์ทรงคิดถึงผลลัพธ์ระยะยาว ท�าให้ที่นี่กลายเป็นนคร
นาสมบูรณ์อย่างแท้จริง
วิชา ๙ หน้า ศาสตร์พระราชาจากต�ราของพ่อ • วิชาชลปราการ 17