Page 71 - 9 วิชา
P. 71
‘แก้มลิง’ มหัศจรรย์แห่งการสังเกต
เพราะความรักที่มีต่อสัตว์ทรงเลี้ยงของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์จึงคอยเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของ
ลิงแสมทรงเลี้ยงอย่างใกล้ชิด จากความสนพระทัยนี้ได้ถูกต่อยอดมาเป็นแนวทางการบริหารจัดการน�้า
ที่ส�าคัญของประเทศ
เมื่อพ.ศ.2538 ประเทศไทยต้องประสบกับเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ เนื่องจากมีพายุหลายลูกพัดผ่านมายัง
พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน ส่งผลให้เกิดฝนตกอย่างหนักจนแม่น�้าหลายสายท่วม และ
กลายเป็นมวลน�้าก้อนใหญ่มุ่งตรงมายังกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในหลวงทรงเรียกประชุมหน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการรับมืออย่างเร่งด่วน โดยวิธีแก้ปัญหาหนึ่งที่ทรงเสนอขึ้นมาก็คือ ‘แก้มลิง’
การท�าแก้มลิงคือ การจัดหาพื้นที่ ซึ่งอาจจะเป็น สระ คลอง บึง หรือพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ก็ได้ เพื่อชะลอ
และรองรับมวลน�้าที่ก�าลังไหลบ่าลงมาเป็นการชั่วคราว และพอน�้าในทะเลลดลงจึงค่อยๆ ระบายน�้าใน
แก้มลิงลงสู่ทะเล ตามหลักแรงโน้มถ่วงของโลก โดยทฤษฎีนี้ในหลวงได้รับแรงบันดาลใจจากลิงทรงเลี้ยง
สมัยพระเยาว์ เพราะเวลาที่ทรงยื่นกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือกแล้วเคี้ยวอย่างรวดเร็ว แต่แทนที่จะ
กลืนลงไป กลับกักอาหารไว้จนเต็มกระพุ้งแก้ม แล้วพอถึงเวลาจึงค่อยดุนกล้วยมากินทีละนิดในภายหลัง
โดยพื้นที่ที่ทรงเลือกไว้ท�าแก้มลิงคือ ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะ
ที่โปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ ทว่าก่อนจะได้ท�าหน้าที่แก้มลิง กลับเกิดเหตุฉุกละหุกขึ้น เพราะข้าราชการ
ในพื้นที่ไม่ทราบพระราชประสงค์ ด้วยเห็นว่าเป็นพื้นที่ส�าคัญ จึงพยายามกันไม่ให้น�้าท่วม กระทั่งในหลวง
รัชกาลที่ 9 ต้องมีพระราชกระแสรับสั่งให้ผันน�้าเข้าพื้นที่ ท�าให้ปัญหาน�้าท่วมทุเลาลง ประชาชนและ
โรงงานอุตสาหกรรมจ�านวนมากจึงรอดพ้นวิกฤต ที่ส�าคัญแก้มลิงยังมีประโยชน์อีกสารพัด เช่น พอถึง
ฤดูแล้ง ก็สามารถปล่อยน�้ามาช่วยเรื่องการเกษตร หรือหากเกิดปัญหาน�้าเสีย ก็สามารถระบายน�้าไป
เจือจางความสกปรก ตามหลักการ ‘น�้าดีไล่น�้าเสีย’ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานไว้
ด้วยความส�าเร็จของแก้มลิงที่ทุ่งมะขามหย่อง น�ามาสู่แก้มลิงอีกหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือ ทุ่งทะเลหลวง
จังหวัดสุโขทัย ที่สร้างเพื่อแก้ปัญหาน�้าท่วมในฤดูน�้าหลากและขาดแคลนน�้าในช่วงหน้าแล้ง โดยรัฐบาล
ได้ท�าการขุดคลองลอกพื้นที่บริเวณทะเลหลวง ซึ่งเป็นแหล่งเก็บน�้าในอดีต พร้อมกับออกแบบพื้นที่
ส่วนกลางให้เป็นรูปหัวใจ
จากพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์เข้ากับการสังเกต
น�าไปสู่การต่อยอดเป็นโครงการมหัศจรรย์ ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็น
ต้นแบบการบริหารจัดการน�้า ที่สามารถถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้แก่คนทั่วโลกได้อีกด้วย
วิชา ๙ หน้า ศาสตร์พระราชาจากต�ราของพ่อ • วิชารักแรงโน้มถ่วง 67