Page 20 - Marketting_Neat00
P. 20

4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัย
                       ทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน คือ

                                        4.1 เงื่อนไขความรู้ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบ

                       ด้าน ความรอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และ
                       ความ ระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

                                        4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มี

                       ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาในการดําเนินชีวิต
                                    5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา

                       ประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ

                       สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
                       การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

                                    1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดํารงชีพ

                                    2. ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดํารงชีพ
                                    3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบ ต่อสู้

                       กันอย่างรุนแรงเหมือนในอดีต

                                    4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หา
                       ความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสําคัญ

                                    5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลง

                       ในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจํานวนมิใช่น้อยที่ดําเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน
                       ระดับความพอเพียงในด้านการตลาด

                                    เศรษฐกิจพอเพียงแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

                                    1. พอเพียงระดับครอบครัว จะเน้นการเพาะปลูก การอาชีพหรือกิจกรรมอื่นโดยตั้งใจเพียง
                       ว่า ให้ครอบครัวมีสภาพพออยู่ พอมี พอกิน พอใช้ โดยใช้แรงงานอุปกรณ์ที่หาได้ในชุมชนของตนเอง

                       เช่น การทํากิจกรรมทั้งภาคเกษตรและงานหัตถกรรม งานฝีมือ เน้นผลิตเพื่อใช้ในครอบครัวแล้วเพิ่ม

                       ความขยันอดทน ลงแรงทําให้เกิดผล เมื่อทําต่อเนื่องก็จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนากระบวนวิธี ไป
                       เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นแรงบันดาลใจที่จะทําสิ่งที่ได้ทํา และกําลังทําอยู่ ให้

                       จริงจังยิ่งขึ้น จะนําไปสู่การทํากิจกรรมที่มากขึ้นด้วยขบวนการลงแรง ลงทุน นําความรู้เทคโนโลยี ใหม่ๆ

                       เข้ามาหนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลของการนําวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาประกอบ
                       กิจกรรมนี้เองจะก้าวไปสู่สภาพของการเหลือกินเหลือใช้ เหลือเก็บ

                                    2. พอเพียงระดับชุมชน หมายถึง การพยายามที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ คนและปัจจัย ที่
                       เป็นทุน เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ และมีการนําเอาเทคนิควิทยาการเข้ามาเสริมในการทํากิจกรรม




                                                               13
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25