Page 87 - Marketting_Neat00
P. 87

2.3 การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ที่ผู้บริโภคมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผลของการ
                       เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ยี่ห้อหนึ่งย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ครั้งต่อไป หากรถยนต์ยี่ห้อ

                       นั้นสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้ ย่อมส่งผลต่อการซื้อซ้ำในโอกาสต่อไป

                         2.4 ความเชื่อ (Belief) ความเชื่อของบุคคล หมายถึง การยึดถือในบางสิ่งบางอย่าง เช่น ความเชื่อ
                       หลักศาสนา ความเชื่อโชคลาง เช่น การจําหน่ายอาหารให้แก่ผู้บริโภคที่นับถือศาสนาอิสลาม จําเป็นต้อง

                       ปฏิบัติให้ถูกตามหลักของศาสนาอิสลาม มิฉะนั้นผู้บริโภคจะไม่ซื้ออาหารของผู้ผลิตราย

                         2.5 ทัศนคติ (Attitude) ทัศนคติเป็นความรู้สึกที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากผู้บริโภคมี ทัศนคติที่ไม่
                       ดีต่อสินค้าหรือบริการย่อมส่งผลต่อการไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการดังกล่าว ในทาง ตรงข้าม หาก

                       ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีย่อมนํามาสู่การซื้อสินค้าหรือบริการเหล่านั้น

                       3. ปัจจัยด้านสังคม (Social Factors) สังคมแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ผู้บริโภคมีผลต่อการซื้อสินค้า
                       สิ่งแวดล้อมด้านสังคมประกอบด้วย

                         3.1 ครอบครัว (Family) สมาชิกในครอบครัวถือเป็นกลุ่มบุคคลในสังคมที่มีผลต่อการซื้อสินค้า ของ

                       ผู้บริโภค แม่มักจะเป็นต้นแบบในการซื้อสินค้าที่ถูกถ่ายทอดไปยังลูกๆ ผู้บริโภคที่อยู่ในครอบครัว
                       เดียวกันมักจะมีพฤติกรรมการซื้อที่คล้ายคลึงกัน

                         3.2 ผู้นําทางความคิด (Opinion Leader) บุคคลที่เป็นผู้นําทางความคิดของสังคมมักจะเป็น

                       ต้นแบบของพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือบริการต่อผู้บริโภคคนอื่นในสังคมนั้นๆ
                         3.3 วัฒนธรรม (Culture) แต่ละสังคมจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองวัฒนธรรมของสังคม อาจจะมา

                       จากประเพณี กิจกรรมประจําท้องถิ่น ผู้บริโภคที่มักจะตัดสินใจซื้อสินค้าที่สอดคล้องกับ วัฒนธรรมของ

                       ตน ตัวอย่างเช่น การซื้อเสื้อผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจําวันของประชาชนใน3จังหวัดชายแดน ภาคใต้ของ
                       ไทย จะแตกต่างจากการซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคในภาคเหนือของประเทศไทย



                               ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslows Hierarchy of Needs Theory)


                       อับราฮัม แฮโรล์ด มาสโลว์ (Abraham Harold Maslow) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลับแบรนดีส์ ได้

                       พัฒนาทฤษฎีการจูงใจที่รู้จักกันมากที่สุดทฤษฎีหนึ่งขึ้นมา โดยระบุว่าบุคคลจะมีความต้องการที่
                       เรียงลําดับจากระดับพื้นฐานไปยังระดับสูงสุด ดังนี้












                                                               80
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92