Page 4 - ครูของแผ่นดิน
P. 4
การปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๗
แนวคิดในการจัดการศึกษาของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามาเป็ นล าดับ
นับตั้งแต่ เสด็จขึ้นครองราชย์ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางด้าน
สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ
ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลอดช่วงเวลา
ดังกล่าวจนเป็ นที่ประจักษ์ไปทั่วว่าการศึกษาของไทยไม่สามาร ถ
ตอบสนองความต้องการของสังคมได้ทันกับความเปลี่ยนแปลง จึง
จ าเป็นต้องแสวงหาแนวทางใหม่ในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับ
สภาพการณ์แนวคิดดังกล่าวได้รับการกระตุ้นมากขึ้นหลังจากที่เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งส าคัญในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๑๖ รัฐบาลจึงเห็นความจ าเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา
เพื่อให้การศึกษามีบทบาทในการพัฒนาคนแก้ปัญหาสังคมเสริมสร้างและ
น าประเทศชาติไปสู่สังคมที่พึงประสงค์
ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ คณะรัฐมนตรีจึงได้ แต่งตั้ง
“คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษา” ขึ้นโดยท าหน้าที่
พิจารณาเสนอแนวทางการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปทางการศึกษาทั้งใน
ระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน และลักษณะอื่นๆให้เหมาะสมกับ
กาลสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระบอบ
ประชาธิปไตย