Page 25 - วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
P. 25

25


                   คีม(TONG)

                     คีมมีอยู่หลายชนิด คีมที่ใช้กับขวดปริมาตรเรียกว่า flask tong คีมที่ใช้กับบีกเกอร์เรียกว่า beaker tong

                     และคีมที่ใช้กับเบ้าเคลือบเรียกว่า crucible tong ซึ่งท าด้วยนิเกิ้ลหรือโลหะเจือเหล็กที่ไม่เป็นสนิม แต่

                     อย่าน า crucible tong ไปใช้จับบีกเกอร์หรือขวดปริมาตรเพราะจะท าให้ลื่นตกแตกได้


                   3.การใช้งานอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ประเภทสิ้นเปลืองและสารเคมี

                          กระดาษกรอง (FILTER  PAPER) เป็นกระดาษที่กรองสารที่อนุภาคใหญ่ออกจากของเหลวซึ่งมี

                   ขนาดของอนุภาคที่เล็กกว่า

                          กระดาษลิตมัส (LITMUS)เป็นกระดาษที่ใช้ทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบสของของเหลว กระดาษ
                   ลิตมัสมีสองสีคือสีแดงหรือสีชมพู และสีน ้าเงินหรือสีฟ้า วิธีใช้คือการสัมผัสของเหลวลงบนกระดาษ ถ้าหาก

                   ของเหลวมีสภาพเป็นกรด (pH < 4.5) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีน ้าเงินเป็นสีแดง และในทางกลับกันถ้า

                   ของเหลวมีสภาพเป็นเบส (pH > 8.3) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน ้าเงิน ถ้าหากเป็นกลาง (4.5 ≤ pH
                   ≤ 8.3) กระดาษทั้งสองจะไม่เปลี่ยนสี

                          สารเคมี หมายถึง สารที่ประกอบด้วยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุต่างๆรวมกันด้วยพันธะ

                   เคมีซึ่งในห้องปฏิบัติการจะมีสารเคมีมากมาย



                          ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (LAB)
                          ในการท าการทดลองทางวิทยาศาสตร์นั้นผู้ทดลองควรท าการทดลองในห้องปฏิบัติการเนื่องจากว่า

                   ภายในห้องปฏิบัติการปราศจากสิ่งรบกวนจากภายนอก อาทิเช่น กระแสลม ฝุ่นละออง ซึ่งตัวแปรเหล่านี้อาจ

                   ท าให้ผลการ ทดลองคลาดเคลื่อนได้

                          ลักษณะของห้องปฏิบัติการ
                          1) ห้องปฏิบัติการที่มีขนาดเท่ากันทุกห้อง จะช่วยให้การจัดการต่าง ๆภายในห้องปฏิบัติการท าได้

                   สะดวก  เนื่องจากสามารถจัดการให้ เป็นไปในแนวทางเดียวกันและมีความสะดวกในการปรับเปลี่ยนได้

                   ดีกว่าห้องปฏิบัติการที่มีขนาดแตกต่างกัน
                          2)  ห้องปฏิบัติการที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะช่วยให้การดูแล  การให้ค าแนะน าและการอ านวยความ

                   สะดวกท าได้อย่างทั่วถึง ลักษณะห้องปฏิบัติการที่ดีต้องไม่มีซอกและมุมต่าง ๆ และไม่ควรมีเสาอยู่ภายใน

                   ห้อง

                          3) ห้องปฏิบัติการที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้องมีลักษณะห้องไม่ยาวหรือแคบเกินไป จนท าให้มุมมอง
                   จากโต๊ะสาธิตหน้าชั้นเรียนแคบมาก  หรือหน้าชั้นและหลังชั้นเรียนอยู่ห่างกันเกินไป  โดยทั่วไปควรมี

                   สัดส่วนของด้านกว้างต่อด้านยาวไม่เกิน 1 : 1.2
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30