Page 175 - โครงการ1-10 ป๋อม
P. 175
164
มีความเชื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในสังคม ช่วยเหลือชึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รักษา
ศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ช่วยเหลืองานส่วนรวม
6.6 หลักธรรมเพื่อการปรับตัว
สังคหวัตถุ เป็นหลักธรรมที่มักจะใช้ในการแก้ปัญหาสังคมที่วุ่นวาย เพื่อท าให้คนมีความ
สามัคคีกันมากขึ้น แต่สามารถน าามาปรับใช้ในการเข้าสังคมและการวางตัวและการปรับตัวในสังคมได้
ดังนี้
ทาน คือ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว เช่น มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับงานกับอกต่อกัน มีขนม
ก็แบ่งกันความเอื้อเฟื้อนั้นต้องดูความสามารถของตัวเองด้วยว่าให้ได้มากน้อยแค่ไหนโดยไม่ล าบาก
หรือเดือดร้อนตัวเอง
ปิยวาจา คือ การพูดจาอ่อนหวานไพเราะ ไม่ดุค่าว่าร้ายหรือพูดไม่น่าฟังอันเป็นการก่อศัตรู
พูดจาสุภาพเมื่อต้องการขอความช่วยเหลือ รู้จักขอบคุณเมื่อได้รับ รู้จักขอโทษเมื่อท าพลาด
อัตถจริยา คือ การบ าเพ็ญประโยชน์ต่อกัน มีน้ าใจช่วยเหลือเมื่อพอจะช่วยได้ เช่น ช่วยเหลือ
งานกันและกัน อาสาท างานที่พอจะช่วยได้ แต่ก่อนที่จะยื่นมือช่วยเหลือผู้อื่น ด้องรับผิดชอบงาน
ตัวเองก่อนสมานัตตา คือ การวางตัวให้เข้ากับคนทั้งหลายได้ ไม่เหยียดหยามผู้อื่น เสมอต้นเสมอปลาย
ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างสม่ าเสมอไม่เขารัดเอาเปรียบ ประการนี้ส าคัญเพราะเป็นเหมือนการรวบยอด
หลักธรรม3 ประการแรกมาไว้ในข้อนี้ ด้วยการรักษากาย วาจา ใจ ให้อยู่ในศีลธรรม เป็นกลาง และ
สม่ าเสมอ
นอกจากนี้มีหลักธรรมง่าย ๆ คือ "ความอ่อนน้อมถ่อมตน" เป็นคุณธรรมที่ท าให้คนรักคนหลง
หรือเรียกว่าเป็นคาถามหาเสน่ห์ การอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นลักษณะของการมีมารยาทดี ไม่อวดเก่ง ไม่
อวดตัวรู้จักเวลาในการพูด รู้จักเวลาเงียบ ไม่ยกตัวว่าเหนือกว่าใคร ไม่มากไม่น้อย ที่ส าคัญคือ วางตัว
เป็นกลางและท างาน ท าหน้าที่ให้ดีที่สุด เพราะผลงานและการกระท าดีจะเป็นสิ่งดึงดูดใจทุกคนให้
อยากมารู้จักและร่วมงานได้ไม่ยาก ร่าเริงเข้าไว้ คนไทยได้ชื่อว่าเป็นคนยิ้มเก่งอยู่แล้ว หลายครั้งที่
มิตรภาพและความเข้าใจระหว่างเพื่อนเกิดขึ้นได้เพราะรอยยิ้มเพียงครั้งเดียว
ธรรมะ 4 ประการที่จะช่วยให้เกิดภูมิต้านทานในจิตใจ เพื่อเป็นอิสระจากบริโภคนิยม ได้แก่
1. สันโดษ หมายถึง ความพอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้ หากขาดความสันโดษ ไม่ว่าได้เท่าไร
ก็ยังมีความทุกข์อยู่นั่นเอง ดังตัวอย่างของความไม่สันโคษที่มักจะเกิดขึ้นและรบกวนจิตใจของผู้คน คือ