Page 48 - โครงการ1-10 ป๋อม
P. 48

37







                           5. พฤติกรรม (Behavior) ของมนุษย์ต่างกันขึ้นอยู่กับแรงจูงใจของแต่ละคน

                           6. ความถนัด (Aptitude) มนุษย์เกิดมามีความถนัดตามธรรมชาติที่ติดตัวมาต่างกัน หากได้ท างาน

                       ตามที่ถนัดจะท าได้ดี ผลงานออกมาดี แต่ถ้าให้ท างานที่ไม่ถนัดจะส่งผลเสียหรือท าได้แต่ไม่ดี ทั้งหมดนี้

                       จะส่งผลทางด้านจิตใจด้วย


                            7. ความสามารถ (Ability) มนุษย์มีความสามารถต่างกัน เนื่องจากด้านร่างกายแข็งแรงไม่เท่ากัน

                       ผู้ที่แข็งแรงกว่าย่อมท างานหนักได้มากกว่าผู้อ่อนแอ ผู้ชายแข็งแรงกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงอาจท างาน
                       ละเอียดและเรียบร้อยกว่าผู้ชาย


                            8. สุขภาพ (Health) มนุษย์ย่อมมีสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจต่างกัน แข็งแกร่ง อ่อนแอไม่เท่ากัน

                       บางคนรูปร่างผอม มีโรคภัยประจ าตัว


                            9. รสนิยม (Taste) ที่เรียกว่า นานาจิตตัง ฉะนั้น ไม่ควรดูหมิ่น เหยียดหยาม เยาะเย้ย ถากถาง

                       ต าหนิรสนิยมของผู้อื่น ต้องเคารพสิทธิผู้อื่นเพราะทุกคนมีสิทธิชอบธรรมที่จะชอบหรือไม่ชอบสิ่งต่าง

                       ๆ ได้

                            10. สังคม (Social) มนุษย์มีสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน เป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งไม่

                       สามารถเข้ากันหรือสัมพันธ์กันได้ หากขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ยอมรับกัน จะท าให้เกิดการดูหมิ่น

                       เหยียดหยาม ไม่เคารพสิทธิ ไม่ให้เกียรติหรือเคารพนับถือกันและไม่ยอมรับในความแตกต่าง


                              สรุปว่า มนุษย์มีด้านที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านสังคม

                       และด้านสติปัญญา


                   2.3.1 สาเหตุของความแตกต่างของมนุษย์

                         สาเหตุที่ท าให้มนุษย์แตกต่างกัน มีดังนี้


                               1. เชื้อชาติ ท าให้มนุษย์มีรูปร่าง ใบหน้า สีผิว สีผม แตกต่างกัน


                               2. ศาสนา หล่อหลอมให้มนุษย์มีความเชื่อถือ ความคิดให้ยึดมั่นต่างกัน ขึ้นกับว่าแต่ละศาสนา

                       อบรมสั่งสอนอย่างไร


                              3. การกระท า ได้แก่ การประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจ าสม่ าเสมอ เช่น ผู้ที่ฝึกหัดให้มี

                       กิริยามารยาทเรียบร้อยหรือท่าทางที่สง่าผ่าเผย ก็จะเป็นผู้มีกิริยาเรียบร้อย สง่าผ่าเผย ส่วนผู้ที่มิได้
                       ฝึกหัดอาจมีพฤติกรรมตรงกันข้าม
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53