Page 55 - Pathumwan
P. 55
47
กกกกกกกรวมธูปที่ต้องใช้ทั้งสิ้น 110 ดอก เทียนทั้งสิ้น 36 เล่ม ดอกบัวทั้งสิ้น 36 ดอก น้ าเปล่า 4
ขวด นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้ว ของสักการะหรือเครื่องบูชา เครื่องสังเวยต่าง ๆ ยังสามารถถวาย
เป็นอย่างอื่นได้ คือ ดอกไม้ กลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกมะลิ ดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก ก ายาน และธูป ใช้
จุดได้ทุกกลิ่น อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมหวาน รสอ่อน ไม่ปรุงรสมากเกิน ไม่เค็มจัด ไม่ผสมสี เน้น
ธรรมชาติ ผลไม้ถวายได้ทุกชนิด แนะน ามะพร้าว สาลี่ ชมพู กล้วย สามารถถวาย ธัญพืช เช่น ข้าว
กล่อง ข้าวสาร ข้าวหุง เมล็ดถั่วต่าง ๆ งาขาว งาด า ลูกเดือย เผือก มัน สมุนไพร เมล็ดพริกไทย ผักชี
ใบกระเพรา พืชผักสดต่าง ๆ (ของทุกอย่างจะสุกหรือไม่สุกก็ได้ เช่น ผักสดก็ถวายได้ ผักต้มสุกก็
ถวายได้) ห้ามถวายเนื้อสัตว์เด็ดขาด
กกกกกกกวิธีการบูชาพระพรหมเอราวัณมีรายละเอียดดังนี้
กกกกกกกขั้นตอนที่ 1 เตรียมธูป เทียน ดอกไม้ ตามการบูชาและความเชื่อของแต่ละบุคคล
กกกกกกกขั้นตอนที่ 2 จุดธูป เทียน และท าการบูชาพระพรหมเอราวัณด้านที่พักตร์ตรงกับ
พระวรกายเป็นล าดับแรก
กกกกกกกขั้นตอนที่ 3 อธิษฐาน หรือบนพระพรหมเอราวัณ โดยต้องระบุว่าจะแก้บนด้วยสิ่งใด ในขณะ
อธิษฐานให้แทนตัวเองว่า“ลูกช้าง”โดยให้เหตุผลว่าผู้มาบูชาเป็นลูกศิษย์พระพรหม ซึ่งพระพรหมเป็นเทพ
ชั้นสูง ดังนั้นในการแทนชื่อตนเองต่อเทพชั้นสูงในคติความเชื่อแบบไทยนั้น จะต้องแทนตัวเองว่าลูกช้าง
กกกกกกกขั้นตอนที่ 4 ปักธูป เทียน และวางพวงมาลัย
กกกกกกกขั้นตอนที่ 5 เดินวนซ้ายมือของผู้บูชาเพื่อท าการบูชาพระพรหมเอราวัณพักตร์ถัดไป
กกกกกกกกล่าวโดยสรุป การกราบไหว้บูชาพระพรหมจะมีวิธีการบูชา การไหว้ขอพรที่แตกต่างกัน
เนื่องจาก พระพรหมเอราวัณมีสี่พักตร์ การขอพรทุกพักตร์จะมีความหมายแตกต่างกัน โดยให้ไหว้จาก
หน้าทางทิศเหนือเป็นหน้าแรก แล้วเวียนซ้ายมือเราไปจนพักตร์สุดท้าย การขอพรให้ขอเพียงเรื่อง
เดียวเท่านั้น และใช้มือทั้งสองข้างกวักควันธูปเข้าหาตัวเพื่อขอบารมีปกปักรักษา และเพื่อความเป็น
สิริมงคล และไม่ควรไปไหว้พระพรหมในวันพระ ซึ่งการขอพรทุกพักตร์จะมีความหมายแตกต่างกัน
เรื่องที่ 2 วิธีการแก้บน
กกกกกกกการแสดงละครร าแก้บน เป็นการแสดงที่ประกอบพิธีกรรม และความซื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งเป็นที่เคารพบูชา มีการกล่าวขอให้สิ่งที่ขอประสบผลส าเร็จตามที่มุ่งหวังจะมีการถวายละคร และ
เมื่อสมหวังแล้วจึงจัดให้มีการแสดงละครถวาย ดังนั้น พิธีกรรมและความเชื่อ เป็นสิ่งที่มีอยู่ใน
สังคมไทยทุกยุคทุกสมัยสืบทอดกันมาช้านาน ถึงแม้ว่าสังคมไทยจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ความรู้สึก
คิดที่เกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต เป็นการแสดงละครที่เปรียบเสมือนเป็นเครื่อง
บ าบัดทางจิตใจ ให้แก่มนุษย์ผู้ศรัทธา และเคารพในเรื่องการบนบานศาลกล่าว ในปัจจุบันจะพบได้
ตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ทางศาสนาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัดอาราม ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หรือศาลต่าง ๆ