Page 45 - Bang Born
P. 45

38







                       เรียกว่า ส านักสงฆ์โพธิ์พุฒตาล นายสุรินทร์ โพธิ์พุฒตาล จึงได้นิมนต์พระมหาประกิต จิตสีโล มาจ า
                       พรรษา พระมหาประกิตจิตสีโล ยื่นเรื่องขออนุญาตเพื่อสร้างวัดและได้รับอนุญาตใน ปี พ.ศ. 2554


                       จากกรมการศาสนา เมื่อ 13 มีนาคม 2554 และได้ท าหนังสือขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาและอยู่
                       ในระหว่างรอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดยพระมหาประกิต จิตสีโล เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์พุฒตาล


                       และเจ้าขณะเขตบางบอนมาจนถึงปัจจุบัน
                       กกกกกกก4.  สถานที่ส าคัญที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวบางบอน วิหารหลวงพ่อขาว ตั้งอยู่ริม


                       ถนนเอกชัยในเขตบางบอน คาดการณ์ว่าสร้างตั้งแต่สมัย พ.ศ.2516 เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ก่อ

                       พอกด้วยปูนจึงมีสีขาวทั้งองค์ ประทับนั่งปางมารวิชัย มีชายสังฆาฏิพาดพระอังสาซ้ายเป็นแผ่นใหญ่

                       ปลายตัดคล้ายพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่  20 - 21 องค์หลวงพ่อขาวซึ่งเป็น

                       พระพุทธรูปขนาดใหญ่และยังมีพุทธลักษณะบางประการ เช่น ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นปลายตัด หรือการ

                       ประดิษฐานบนฐานเตี้ยๆ ไม่มีฐานชุกชีสูงแบบพระพุทธรูปรุ่นหลัง

                               5.  วัฒนธรรมชาวบางบอน วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และ

                       โครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ท าให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความส าคัญ วิถีการด าเนินชีวิต ซึ่งเป็น

                       พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของ

                       ตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะ

                       แปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถ

                       แสดงออกผ่านดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้

                       กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับ

                       ต่ า วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึง

                       วัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้

                       ความหมายแก่สินค้า นั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ท าให้

                       วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึง

                       เทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพล

                       จากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชน

                       และศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์

                       ของมนุษยชาติมาโดยตลอด
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50