Page 22 - รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน คกก.พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปี 2561)
P. 22

หน้า 17


               1.2 วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์เศรษฐกิจอีสาน 2020

                       ก าหนดวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือไว้ว่า “เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า
               การลงทุน การเกษตรและบริการเชื่อมโยงภูมิภาคและอนุภูมิภาค สังคมเข้มแข็งอยู่ดีมีสุขและเป็นธรรมอย่าง

               ยั่งยืน”



               1.3 เป้าหมายของยุทธศาสตร์เศรษฐกิจอีสาน 2020

                       1) อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี
               (2 เท่าของประเทศโดยประมาณ โดยตั้งเป็นเพิ่มสัดส่วน GRP ของภาคจาก 10 % เป็น 15%) (เพิ่มรายได้

               ต่อหัวของประชากรภาคอีสานเป็น 2 เท่า)

                       2) ความอยู่ดี มีสุขของประชาชนในภาค และการพัฒนาควบคู่การจัดการความสมดุลของสังคม

               เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม


               1.4 แนวทางในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

               แห่งชาติ ฉบับที่ 12


                       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ได้ตั้งเป้าหมายให้ ภาค

               ตะวันออกเฉียงเหนือ : พัฒนาให้หลุดพ้นจากความยากจน สู่เป้าหมายการพึ่งตนเอง ประกอบด้วย 1) เพิ่ม

               ศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรไปสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย 2) พัฒนาอุตสาหกรรม

               เกษตรแปรรูปไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง 3) ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรม อารยธรรม

               ขอม ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และกีฬาสู่นานาชาติ 4) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ าเพื่อ
               การพัฒนาที่ยั่งยืน 5) ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้คงความอุดมสมบูรณ์และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

               ในพื้นที่ต้นน้ าของจังหวัดเลย อุดรธานี สกลนคร ชัยภูมิ และนครราชสีมา

                       1.1 เพิ่มศักยภาพการผลิตไปสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย

                              1.1.1 พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (ยโสธร สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ) ให้เป็น

                                   แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง
                              1.1.2 ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนไปสู่สินค้าเกษตรชนิดใหม่ตามศักยภาพของพื้นที่ในพื้นที่

                                   ตอนบนของภาค (เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม) และตอนล่างของภาค (ศรีสะ

                                   เกษ อุบลราชธานี)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27