Page 32 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 32

๔๒


                                                 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร


                                      ั
               ความสำคัญและที่มาของปญหา
                                                                        ิ
                                                            ั
                              พื้นที่สีเขียว ถือเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วดคุณภาพชีวตของประชาชนของกรุงเทพมหานคร
               การเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครต่ำกว่ามาตรฐานตามที่
               องค์การอนามัยโลกกำหนด

                             กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568.737 ตารางกิโลเมตร มีประชากรตามทะเบียน
               ราษฎร์ 5.7 ล้านคน หากรวมประชากรแฝงจะมีประชากรประมาณ 8.3 ล้านคน มีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบของ
               สวนสาธารณะ/สวนหย่อม จำนวนทั้งสิ้น 7,160 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ 34 ล้านตารางเมตร สัดส่วนพื้นที่สีเขียว
               ต่อประชากร 5.97     ตารางเมตร/คน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.16 ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากพิจารณา

               เฉพาะพื้นที่สีเขียวเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรที่องค์การอนามัยโลก
               ระบุว่า เมืองที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ย 9 ตารางเมตร/คน  สำนักงานเขตดอนเมืองมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ
               36.803 ตารางกิโลเมตร ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อมพบว่า พื้นที่สีเขียวในสำนักงานเขตดอนเมือง ณ วันที่ 4
               สิงหาคม 2563 มีจำนวน 381 ไร่ (609,600 ตางเมตร) สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร 3.578 ตารางเมตร/

               คน (คำนวณจาก 609,600/170,397)
                              สำนักงานเขตดอนเมืองมีสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มต่ำ มักเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งสร้างความ

               เดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะมีคลองหลักอยู่หลายสายแต่ก็ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างมี
               ประสิทธิภาพ ซึ่งคูนายกิมสาย 2 มีความยาวประมาณ 2.4 กิโลเมตร และมีความกว้าง 8 - 30 เมตร เป็น

               คลองหลักที่เชื่อมระหว่างกรมสื่อสารทหารจนถึงคลองเปรมประชากรมีบ้านเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่นทั้งสอง
               ฝั่งคลอง แต่เนื่องจากการบุกรุกที่สาธารณะริมคูนายกิมสาย 2 เป็นจำนวน 101 หลังคาเรือน ทำให้ขาดความ

               เป็นระเบียบเรียบร้อย ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างปัญหาและความเดือดร้อนแก่ประชาชน
               ที่อยู่อาศัยบริเวณดังกล่าวเป็นอย่างมาก ปัจจุบันได้มีการรื้อถอน สิ่งปลูกสร้างของผู้ที่รุกล้ำเรียบร้อยแล้วตั้งแต่

               ปี 2560 แต่ยังมิได้มีการพัฒนาพื้นที่หรือใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


               วัตถุประสงค์

                              1) เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์สวยงาม
                              2) เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

                              3) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                              4) เพื่อให้เกิดความสะดวกและเป็นทางเลือกในการสัญจร
                              5) เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
                              6) เพื่อให้ชุมชนได้มีอาชีพและเกิดการจ้างงานหรือสร้างรายได้


                วิธีการศึกษา
                              1. ศึกษาสภาพปัญหาการเพิ่มพนที่สีเขียวบริเวณคูนายกิมสาย 2 ของสำนักงานเขตดอนเมือง
                                                        ื้
               สำรวจพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นประเด็นปัญหาและขอเสนอแนะจากประชาชน
                                                             ้
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37