Page 41 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 41

๕๑


                           เดิมคูนายกิมสาย 2 มีผู้บุกรุก มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ จำนวน 101 หลังคาเรือน
                                                       ั้
               สำนักงานเขตดอนเมืองได้ดำเนินการรื้อถอนแล้วทงหมด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (ใช้เวลาในการรื้อถอน
               ประมาณ 8 เดือน) และได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการประชาคมพิทักษ์คูนายกิมสาย 2 โดยประธาน

               คณะกรรมการชมรมคนริมน้ำ เขตดอนเมือง ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562 และในปีงบประมาณ
               พ.ศ. 2563 ได้ดำเนินการขุดลอกคูนายกิมสาย 2 ตั้งแต่คลองเปรมประชากร - ซอยสรงประภา 24 เรียบร้อย
               แล้ว ปัจจุบันบริเวณริมฝั่งคูนายกิมสาย 2 ทั้ง 2 ฝั่ง เป็นที่รกร้างว่างเปล่ายังไม่ได้รับการพัฒนา โดยคูนายกิม
               มีความกว้างประมาณ 4 - 26.5 เมตร ความยาวประมาณ 2,000 เมตร (วัดจากจุดเริ่มต้นตั้งแต่ รั้ว ค.ส.ล.

               กรมการทหารสื่อสาร ถึงคลองเปรมประชากร)

                      (4)  วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร

                           จุดแข็ง
                           1. สำนักงานเขตได้รับความร่วมมือในการรื้อถอนบ้านเรือนของผู้ที่บุกรุกพื้นที่สาธารณะบริเวณ
                             คูนายกิมสาย 2 ทำให้มีพื้นที่ว่างเปล่า สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประชาชนในสำนักงาน
                             เขตดอนเมืองได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                           2.  ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่สำนักงานเขต   มีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการ

                             พัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (ชุมชนเข้มแข็ง)
                           3.  ประชาชนให้ความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                           4.  ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลอง ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในพื้นที่สำนักงานเขต

                                                    ี
                           5.  สำนักงานเขตมีบุคลากรที่มความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะความเชี่ยวชาญในการ
                             ปลูกต้นไม้ การบำรุงและการดูแลรักษา
                           6.  บุคลากรภายในหน่วยงานมีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน
                           7.  พื้นที่บริเวณคูนายกิมสาย 2 เป็นทางลัด ทางเชื่อม จากซอยสรงประภา 30 ถึงซอย

                             สรงประภา 14

                           จุดอ่อน
                           1. การดำเนินงานตามภารกิจยังขาดความต่อเนื่อง เมื่อบุคลากรมีการโยกย้าย หรือเปลี่ยนแปลง
                             ผู้บริหารมักจะส่งผลให้การปฏิบัติงานต้องหยุดชะงักไม่ได้ดำเนินการต่อ

                           2. สำนักงานเขตมีภาระงานเพิ่มขึ้นมาก แต่บุคลากรมีไม่เพียงพอ
                           3. พื้นที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และมีความเสี่ยง
                              ต่อการเกิดอาชญากรรม


                      (5)  วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์กร
                           โอกาส
                           1. กรุงเทพมหานครกำหนดวิสัยทัศน์ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างขนาด

                             พื้นที่กับจำนวนประชากร เพื่อให้มีวิถีชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติ
                           2. กรุงเทพมหานครมีหน่วยงานในสังกัดที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น
                             สำนักการระบายน้ำ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการก่อสร้างเขื่อนริมคลอง พัฒนา
                             ประสิทธิภาพคู คลอง และแหล่งน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น ทำให้เกิดการบูรณาการ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46