Page 143 - วทยทษะ
P. 143

139



               แช่เย็น เนื้อสัตว์และการผลิตอาหารกระป๋อง


                           3. พันธุวิศวกรรม โดยนําผลิตผลของยีนมาใช้ประโยชน์และผลิต


               เป็นอุตสาหกรรม เช่น ผลิตยา ผลิตวัคซีนนํ้ายาสําหรับตรวจวินิจฉัยโรคยา


               ต่อต้านเนื้องอก ฮอร์โมนอินซูลินรักษาโรคเบาหวาน ฮอร์โมนเร่งการ


               เจริญเติบโตของคน เป็นต้น


                           4. ผลิตสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมให้มีลักษณะโตเร็วเพิ่มผลผลิต


               หรือมีภูมิต้านทานเช่น แกะ ที่ให้นํ้านมเพิ่มขึ้นไก่ที่ต้านทานไวรัส





               5. ข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ


                   การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ปรับปรุงพันธุ์และเพิ่ม


               ผลผลิต โดยเฉพาะการใช้เทคนิคด้านพันธุวิศวกรรมในการผลิตพืชสัตว์ที่


               ดัดแปรพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า  จีเอ็มโอ (GMOs) ซึ่งในปัจจุบันนําไปใช้


               ประโยชน์อย่างมากมายในด้านการเกษตรในการผลิตอาหาร  เช่น การทํา


               ให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานานทํา


               ให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น


               มะเขือเทศที่สุกช้าหรือแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม  เนื้อยังแข็งและกรอบไม่งอม


               หรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค การทําให้เกิดธัญพืชผักหรือผลไม้ที่มี


               คุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการเช่น  ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่ม


               มากขึ้นหรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมให้ผลมากกว่าเดิม  การทําให้


               เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์  เช่น ดอกไม้หรือพืชจําพวกไม้
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148