Page 21 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 21

13




                                 - ประติมากรรมถ้ำที่เกิดจากหยดน้ำและน้ำไหล (Dripstone and flowstone forms)
                   เช่น หินย้อย (Stalactite) หินงอก (Stalagmite) ม่านหินย้อย (Draperies) แผ่นหินน้ำไหล (Flowstone

                   sheets) เป็นต้น

                                 - ประติมากรรมถ้ำที่มีรูปร่างไม่แน่นอน (Erratic forms) เช่น โล่หินปูน (Shields) เกลียว
                   หินปูน (Helictite) พวงองุ่น (Botryoidal forms) ดอกไม้ถ้ำ (Anthodites) น้ำนมพระจันทร์ (Moon
                   milk) เป็นต้น

                                 - ประติมากรรมถ้ำที่เกิดใต้ระดับน้ำ (Sub–aqueous forms) เช่น ทำนบหินปูน
                   (Rimstone pool) มวลสารพอก (Concretions) ตะกอนที่เกิดในแอ่ง (Pool deposits) ผลึกเคลือบผนัง

                   (Crystal linings) เป็นต้น

                          หินงอก (stalagmite) คือ การก่อตัวของตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตจากพื้นถ้ำสูงขึ้นไปใน
                   แนวดิ่ง โดยตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตได้มาจากหยดน้ำที่ตกลงมาจากเพดานถ้ำ ลักษณะของแท่ง
                   หินงอกที่ก่อตัวขึ้นมามีรูปร่างต่างๆ ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณของน้ำที่หยดลงมา ความแรงของน้ำที่
                   หยดลงมา ความสูงของเพดาน เป็นต้น (รูปที่ 2.4)


                          หินย้อย (stalactite) คือ ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ก่อตัวเป็นแท่ง หรือเป็นแผ่น แขวนหรือ
                   ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ มักเกิดตามรอยแตกของเพดานถ้ำ หรือผนังถ้ำ (รูปที่ 2.5)

                          หลอดหินย้อย (soda straw) คือ ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ก่อตัวลักษณะเป็นโพรงกลวง
                   รูปร่างคล้ายหลอด หรือรูปร่างคล้ายท่อขนาดเล็กย้อยลงมาจากเพดาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอด
                   หินย้อยจะมีขนาดพอๆ กับขนาดของหยดน้ำ ในขณะที่น้ำค่อยๆ ไหลผ่านกลางท่อของหลอดหินย้อยลงมา

                   หยอดน้ำค่อยๆ ก่อตัวเป็นหยดบริเวณปลายของหลอดหินย้อย พบผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตจะค่อยๆ
                   ก่อตัวในบริเวณหยดน้ำ จากนั้นหยดน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและหนักขึ้นก็ตกลงมาสู่พื้นถ้ำ น้ำที่ไหลผ่านหลอด
                   หินย้อยลงมาครั้งต่อไปก็นำพาตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตมาตกผลึก ทำให้หลอดหินย้อยมีความยาว
                     ิ่
                   เพมขึ้น (รูปที่ 2.6)
                          เสาหิน (column) คือ ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ก่อตัวเชื่อมระหว่างเพดานถ้ำและพื้นถ้ำ

                   เกิดจากการเติบโตของหินงอกกับหินย้อยจนมาบรรจบและเชื่อมติดกัน หรือเกิดจากการเติบโตของหินงอก
                   หรือหินย้อยอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อมต่อพื้นถ้ำและเพดานถ้ำ (รูปที่ 2.7)

                          หินน้ำไหล (flowstone) คือ ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ก่อตัวเป็นแผ่นบางๆ เกิดจากน้ำที่
                   ไหลบนพื้นผิวของพื้นถ้ำหรือผนังถ้ำ (รูปที่ 2.8)

                          ม่านหินย้อย (curtain) คือ ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ก่อตามผนังถ้ำที่มีรอยแตก น้ำไหล
                   เป็นแนวตามแรงโน้มถ่วงของโลกออกจากรอยแตกตามผนังที่มีลักษณะเอียงเทเข้าหาผนังถ้ำ ตะกอนของ

                   แคลเซียมคาร์บอเนตค่อยๆ ก่อเกิดเป็นแผ่นบางเป็นแถบยาวยื่นออกจากผนังถ้ำ มักมีลักษณะโปร่งแสง
                   ม่านหินย้อยบางแห่งมีแถบสีเป็นแนวยาวของสีน้ำตาลสลับสีขาว ลักษณะคล้ายหมูสามชั้น มีชื่อเรียก
                   เฉพาะว่า ม่านเบคอน (รูปที่ 2.9)

                          ม่านเบค่อน (bacon) คือ ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ก่อตัวเป็นแถบบางๆ ยื่นออกมาจาก
                   ผนังถ้ำ มีลักษณะแถบยาวสีน้ำตาลสลับแบบขนานกับแถบสีขาว แถบสีน้ำตาลมักเกิดจากเหล็กออกไชต์ที่

                   เจือปนอยู่ในตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต ดูคล้ายแผ่นหมูสามชั้น (รูปที่ 2.10)
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26