Page 39 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 39

31







                                                                หลังจากเกิดโถงถ้ำ ระดับน้ำภายในถ้ำลดระดับลง
                                                                บริเวณทางน้ำมีการสะสมตัวของตะกอน กลายเป็นชั้น
                                                                ตะกอนชั้นหนา







                                                                เมื่อเวลาผ่านไป ระดับน้ำในถ้ำลดลง น้ำที่ไหลออกมา

                                                                จากผนังถ้ำไหลแผ่ลงบนตะกอนถ้ำที่ลาดเอียง
                                                                 เกิดประติมากรรมถ้ำ (หินน้ำไหลและทำนบหินปูน)

                                                                 ไหลลงมาปิดทับบนชั้นตะกอน พร้อมกับเกิดการกัด
                                                                เซาะในแนวดิ่งเพิ่มขึ้น




                                                                 ต่อมาเมื่อระดับน้ำในถ้ำลดลงอีก ทำให้พบชั้นตะกอน
                                                                โบราณอยู่สูงกว่าระดับน้ำปัจจุบัน และพบบริเวณ
                                                                 ด้านล่างของชั้นตะกอน หินน้ำไหลหรือทำนบหินปูน

                                                                 เกิดรอยเว้าเข้าไปด้านใน ทำให้เห็นเหมือนกับ
                                                                ทำนบหินปูนหรือหินน้ำไหลเหมือนลอยอยู่ด้านบน
                                                                 ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะในแนวราบที่เกิดจากน้ำ



                   รูปที่ 3.9 แบบจำลองพื้นถ้ำบรรพกาล ตะกอนโบราณ หินน้ำไหล และทำนบหินปูน

                                 ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ถ้ำ หลุมยุบ แนวของเทือกเขาหินปูน
                   มียอดตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน บริเวณนี้จัดอยู่ในหมวดหินพับผ้า กลุ่มหินราชบุรี
                   ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา ชั้นบางถึงหนาปาน เนื้อหินปูนขนาด
                   ละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10 เรียกว่า Mudstone ถึง เนื้อหินปูนขนาดละเอียด

                   มีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่มากกว่าร้อยละ 10 เรียกว่า Floatstone (Dunham, 1962) มีก้อนเชิร์ตลักษณะ
                   เป็นเลนส์วางตัวตามแนวการวางตัวของชั้นหิน แทรกสลับด้วยหินดินดาน สีเทาเข้ม เนื้อประสานเป็น
                   แคลเซียมคาร์บอเนต พบซากดึกดำบรรพ์พวกแบรคิโอพอด ปะการัง ไบรโอซัว และแกสโตพอด

                   นอกจากนี้บนเกาะวัวตาหลับยังพบซากดึกดำบรรพ์ ฟูซูลินิด (Pseudofusulina sp.) ฟองน้ำ รอยชอนไช
                   และฟันปลาฉลาม (Helicampodus sp.) มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียนตอนกลาง หรือประมาณ 273-259
                   ล้านปีมาแล้ว (รูปที่ 3.12)

                                 การเกิดถ้ำบัวโบก : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายของหินปูน ในอดีตยุคเพอร์เมียนเมื่อ
                   ประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็นจำนวน

                   มาก เช่น ปะการัง ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนคาร์บอเนตที่
                   สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้งสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ใน
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44