Page 203 - Bella
P. 203

198.












          แผ่นวงจรพิมพ์

                     การประกอบวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่จะประกอบบนแผ่นวงจรพิมพ์
          หรือที่เรียกกันทั่วไปคือแผ่นปรินซ์ หรือแผ่น PCB (Printed Circuit Board) ซึ่งด้านหนึ่ง

          ที่ใส่อุปกรณ์จะเป็นฉนวนและอีกด้านจะเป็นแผ่นทองแดงบาง ๆ จุดเด่นของการต่อเชื่อม

          วงจรด้วยแผ่นวงจรพิมพ์แทนการใช้สายต่อ คือ อุปกรณ์จะถูกวางอย่างเป็นระเบียบ และ

          ประหยัดพื้นที่ ลดความวุ่นวายจากการโยงสายที่ซับซ้อน และสามารถที่จะผลิตเป็น
          อุตสาหกรรมได้ด้วย แผ่นวงจรพิมพ์จะแบ่งออกเป็น2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

          แผ่นวงจรพิมพ์แบบอเนกประสงค์ และแผ่นวงจรพิมพ์เปล่า

                     1.แผ่นวงจรพิมพ์แบบอเนกประสงค์ (Universal Board)
          แผ่นวงจรพิมพ์ประเภทหนี้โดยมากมักจะมีการวางลายทองแดงเป็นเส้น ๆ และมีการ

          เจาะๆไว้แล้วสามารถเสียบอุปกรณ์ลงไปได้ทันที แต่อาจต้องมีการตัดลายทองแดง หรือ

          เชื่อมต่อด้วยสายไฟในบางจุด ส่วนใหญ่มักใช้กับการประกอบวงจรที่ไม่ซับซ้อนหรือมี
          อุปกรณ์ไม่กี่ตัว โดยเราอาจจะแบ่งได้ตามแนวเส้นทองแดงด้านหลังเป็น 3 แบบคือ

                     1.1 ไอซีบอร์ด (IC  Board)  จะมีการวางต าแหน่งขาเป็นแนว ๆ แบบขาไอซี

          โดยระยะห่างระหว่างรูเจาะเท่ากับระยะห่างของขาไอซีพอดี ส่วนลายทองแดงจะมี
          ลักษณะเป็นแถบยาวต่อเนื่องเป็นระยะเท่า ๆ กัน ดังรูปส าหรับการใช้งานจ าเป็นต้องมี

          การตัดลายทองแดงเป็นบางส่วนและเชื่อมต่อด้วยสายไฟในบางจุด




















                                     รูปที่ 14.1 แสดงด้านลายทองแดงของ
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208