Page 343 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 343
338 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ส่วนท้องถิ่น ส านักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดระนอง วิทยาลัยชุมชนระนอง และ
สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเมตต์เมตต์ การุณ์จิต
(2553 : 228) ได้กล่าวว่า คุณค่าของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสามารถสนอง
ความต้องการของชุมชนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการรวมพลังกับบุคคล
ทุกฝ่าย ตลอดจนสามารถระดมสรรพก าลังและทรัพยากร การมีส่วนร่วมในการบริหาร
ก่อให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ความเกี่ยวข้อง ความรักและผูกพัน และ
เป็นการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน นอกจากนี้แล้วยังมีอาชีพ
อื่นๆ ในท้องถิ่นจังหวัดระนองซึ่งผู้วิจัยไม่ได้น ามาพัฒนาเป็นเนื้อหาในหลักสูตรฝึกอบรม
ซึ่งควรส่งเสริม/ฝึกอบรมเพิ่มเติมต่อไป เช่น การนวดการท าเครื่องประดับ การผลิตกะปิ
และการผลิตซีอิ้ว เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นสามารถก่อเกิด
การพัฒนาด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการพัฒนางานอาชีพโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ทุกประการ และจากผลการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีประเด็นที่ควรน ามาเป็นข้อเสนอแนะ
ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะส าหรับการน าผลวิจัยไปใช้
1.1 ควรคัดเลือกวิทยากรที่มีความรู้ความเข้าใจในบริบทของท้องถิ่น และ
เชี่ยวชาญการประกอบอาชีพนั้นๆ อย่างแท้จริง และมีจ านวนวิทยากรมากเพียงพอ
(หากผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีจ านวนมาก)
1.2 จ านวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละหน่วยวิชาไม่ควรเกิน 30 คน
เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ได้เหมาะสมกับเวลาที่มีอยู่อย่างจ ากัด
1.3 การจัดบรรยากาศในการฝึกอบรม ควรเอื้อแก่การเรียนรู้
เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยากรต้องกระตุ้นกระบวนการแห่ง
การเรียนรู้โดยมีผู้ช่วยวิทยากรในแต่ละกลุ่ม
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560