Page 10 - Chapter 3
P. 10
7
ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง สมการเคมี
จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถเขียนสมการเคมีจากข้อมูลที่ก าหนดให้ได้
สมการเคมี
สมการเคมี เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น โดยจะเขียนสารทุกชนิดที่
เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมีนั้นๆ
สมการเคมี จะประกอบด้วยส่วนส าคัญ ได้แก่
1. สารตั้งต้น หรือสารที่เข้าท าปฏิกิริยากัน เขียนด้วยสูตรเคมีทางซ้ายมือของลูกศร
2. ผลิตภัณฑ์ หรือสารที่ได้จากปฏิกิริยาเคมี เขียนด้วยสูตรเคมีทางขวามือของลูกศร
3. เครื่องหมาย + หมายถึง ท าปฏิกิริยากัน
4. เครื่องหมาย แสดง การเปลี่ยนแปลงของสารตั้งต้นไปเป็นสารผลิตภัณฑ์
5. สัญลักษณ์ที่ใช้บอกสถานะของสาร
(s) แทน ของแข็ง หรือ ของแข็งไม่ละลายน้ า
(l) แทน ของเหลว
(g) แทน แก๊ส
(h) (aq) แทน สารละลาย (มีน้ าเป็นตัวท าละลาย)
สรุปหลักเกณฑ์ในการเขียนสมการเคมี
1. จะต้องทราบว่าสารตั้งต้นคืออะไรและสามารถเขียนสัญลักษณ์หรือสูตรเคมีของสารได้อย่างไร
2. จะต้องทราบว่าหลังเกิดปฏิกิริยาแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง พร้อมทั้งเขียนสูตร
เคมีหรือสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
1. เมื่อคาร์บอนท าปฏิกิริยากับออกซิเจนเกิดเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถเขียนเป็นสมการเคมีได้ดังนี้
C(s) + O 2(g) CO 2(g)
2. อะลูมิเนียมท าปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก จะเกิดอะลูมิเนียมซัลเฟตและแก๊สไฮโดรเจนสามารถเขียน
เป็นสมการเคมีได้ดังนี้
Al(s) + H 2SO 4(aq) Al 2(SO 4) 3(aq) + H 2(g)