Page 3 - บท16 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
P. 3

16.4 โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

                       เมื่อส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไป ถ้าสนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงทิศทางกลับไปกลับมาในระนาบเดียว จะ

               กล่าวได้ว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เป็นคลื่นโพลาไรส์ (polarized wave)

                       16.4.1 โพลาไรเซชันของแสง
                              แหล่งกำเนิดคลื่นแสงโดยทั่วไป เช่น ดวงอาทิตย์ หลอดไฟ จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (คลื่น

                       แสง) โดยสนามไฟฟ้าของแสงที่ส่งออกมามีทิศทางต่าง ๆ กันมากมาย ดังนั้นแสงจากแหล่งกำเนิดแสงจึง

                       เป็นแสงไม่โพลาไรส์ โดยใช้หลักการรวมเวกเตอร์สามารถรวมแสงไม่โพลาไรส์ให้เป็นแสงโพลาไรส์ใน

                       สองทิศทางในแนวแกนที่ตั้งฉากกันได้

                              เมื่อแสงผ่านแผ่นโพลารอยด์ แสงที่สนามไฟฟ้ามีทิศทางขนานกับทิศของโพลาไรส์สามารถผ่าน
                       แผ่นโพลารอยด์ได้ ส่วนแสงที่สนามไฟฟ้ามีทิศทางตั้งฉากกับทิศของโพลาไรส์จะถูกแผ่นโพลารอยด์

                       ดูดกลืน

                              โพลาไรเซชันโดยการสะท้อน












                                                 รูปแสงโพลาไรส์โดยการสะท้อน


                                     เมื่อแสงไม่โพลาไรส์ตกกระทบผิววัตถุ ถ้ามุมตกกระทบ (   ) ที่ทำให้รังสีสะท้อนทำมุม
                                                                                       
                              90 องศากับรังสีหักเหในวัตถุแล้ว แสงสะท้อนจะเป็นแสงโพลาไรส์ซึ่งมีสนามไฟฟ้าตั้งฉากกับ

                              ระนาบของการสะท้อน เรียกมุมตกกระทบ (   ) นี้ว่า มุมโพลาไรส์ (polarizing angle) หรือ
                                                                      
                              มุมบรูสเตอร์ (Brewster’s angle)

                              โพลาไรเซชันโดยการหักเห

                                     แสงที่ผ่านแคลไซต์จะหักเหออกเป็น 2 แนว (double refraction หรือ birefringence)

                              รังสีหักเหทั้งสองแนวเป็นแสงโพลาไรส์
   1   2   3   4