Page 39 - คู่มือหลักสูตรการพัฒนาสื่อการเรียนดิจิทัลด้วยระบบ VR AR และ MR
P. 39

เนื้อหาโครงสร้างหลักสูตรการฝึกทักษะการพัฒนาคอนเทนต์หลักสูตรฝึกอบรมด้วย VR AR และ MR


                       ถึงกระโจมไฟนอกสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยารวมระยะทาง 45 กิโลเมตร เพื่อใช้ในการส่งข่าวสารทาง

                       ราชการเป็นหลัก

                                ในปี พ.ศ. 2421 กรมกลาโหมได้สร้างทางโทรเลขสายที่ 2 จากกรุงเทพฯ ถึงพระราชวังบางปะ

                       อิน และได้ขยายสายออกไปถึงกรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

                                ปี พ.ศ. 2426 เริ่มสร้างทางใช้ลวดเหล็กอาบสังกะสีเป็นสายแรกของกรุงเทพฯ ผ่านปราจีนบุรี

                       กบินทร์บุรี อรัญประเทศ ศรีโสภณ และคลองกำปงปลัก ในจังหวัดพระตะบอง (สมัยนั้นยังเป็นของสยาม) ได้

                       เชื่อมต่อกับสายโทรเลขอินโดจีน ไซง่อนซึ่งเป็นสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ และในวันที่ 26

                       กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้บริการโทรเลข

                                เมื่อมาถึง พ.ศ. 2440 กรมโทรเลขได้สร้างทางสายกรุงเทพฯ แม่สอด จังหวัดตาก เพื่อไปต่อกับ

                       สายโทรเลขของอังกฤษไปเมืองมะละแหม่ง และย่างกุ้ง และได้สร้างทางโทรเลขจากกรุงเทพฯ เพชรบุรี ชุมพร

                       ทุ่งสง หาดใหญ่ และสงขลา และในปี พ.ศ. 2441 ได้สร้างสายย่อจากสงขลาไปไทรบุรี (สมัยนั้นยังเป็นของ

                       สยาม และปัจจุบันคือรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย) และกัวลามุดา เพื่อเชื่อมต่อกับสายโทรเลขของอังกฤษไป

                       ปีนังและสิงคโปร์

                                ในปี พ.ศ. 2496 นายสมาน บุณยรัตพันธุ์ นายช่างโทรเลขได้สร้างเครื่องโทรพิมพ์ภาษาไทยได้

                       สำเร็จ โดยคิดระบบกลไก หรือ Spacing Control Mechanism ต่อมาได้ประดิษฐ์เพิ่มเติมโดยให้เครื่อง

                       ทำงานได้ทั้งสองภาษา (ไทยและอังกฤษ) ให้ชื่อว่า เครื่องโทรพิมพ์ไทยแบบ S.P. โดยกรมไปรษณีย์โทรเลข

                       รับรองเมื่อปี พ.ศ. 2498

                                เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 กรมไปรษณีย์โทรเลขสั่งสร้างเครื่องโทรพิมพ์ไทยจากประเทศ

                       ญี่ปุ่น เข้ามาใช้งานเป็นรุ่นแรกระหว่างกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ กรุงเทพฯ-อุตรดิตถ์-เชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ใช้

                       เครื่องโทรพิมพ์ออกไปทั่วประเทศ

                                ปี พ.ศ. 2503 ได้มีการปรับปรุงบริการให้ทันสมัยโดยจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ เช่น เครื่องส่งและ

                       เครื่องรับวิทยุความถี่สูง เครื่องโทรพิมพ์ที่ใช้งานโทรเลขแบบต่างๆ เปิดการใช้งานรับส่งโทรเลขติดต่อกับ

                       ต่างประเทศด้วยวงจร HF1 ARQ โดยประเทศแรกที่ติดต่อด้วยวงจรนี้คือประเทศญี่ปุ่น

                                นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมขึ้นในจังหวัดและอำเภอ

                       ต่าง ๆ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 50 สถานี

                                จนกระทั่งพ.ศ. 2520 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้โอนส่วนปฏิบัติการให้บริการโทรคมนาคมของ

                       ประเทศรวมถึงบริการโทรเลขไปอยู่ในความรับผิดชอบของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ซึ่งเป็น

                       รัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นใหม่ สังกัดกระทรวงคมนาคม










               รายงานการพัฒนาสื่อการเรียนดิจิทัลด้วยระบบ VR AR และ MR เพื่อช่วยพัฒนาทักษะวิศวกรซ่อมบ ารุงระบบราง     หน้า | 36
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44