Page 60 - คู่มือหลักสูตรการพัฒนาสื่อการเรียนดิจิทัลด้วยระบบ VR AR และ MR
P. 60
เนื้อหาโครงสร้างหลักสูตรการฝึกทักษะการพัฒนาคอนเทนต์หลักสูตรฝึกอบรมด้วย VR AR และ MR
เสาที่อยู่ข้างทางรถไฟนั้นเป็นเสาโทรเลข ซึ่งเดิมใช้ในการโยงสายโทรเลขเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
แต่เมื่อหลังจากที่บทบาทของโทรเลขลดน้อยลง ปัจจุบันการรถไฟก็ได้ใช้เสาโทรเลขในการ โยงสายโทรศัพท์ และ
สายที่ใช้ในการสื่อสาร
อีกหน้าที่หนึ่งของเสาโทรเลขซึ่งเป็นหน้าที่หลักก็คือ "การบอกพิกัดกิโลเมตร"
ด้วยการเดินรถไฟนั้นจำเป็นต้องมีการบอกพิกัดเพื่อสะดวกต่อการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ ในกรณีเกิด
อุบัติเหตุหรือรถชำรุด และเพื่อเป็นการสังเกตระยะทางด้วย ถึงแม้ว่ารถไฟจะมีหลักกิโลเมตรเหมือนรถยนต์ก็ตาม
แต่ก็จะมีเฉพาะจุดที่ครบทุก ๆ 1 กิโลเมตร นั่นเอง
ใน 1 กิโลเมตร เสาโทรเลขอยู่ 16 ต้นในทางราบ (ระยะห่างระหว่างต้นเฉลี่ย 62.5 เมตร) และ
มากกว่า 16 ต้นในทางภูเขา โดยบนเสาโทรเลขนั้นจะมีตัวเลขกำกับอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่บอกพิกัดกิโลเมตร และ
ส่ ว น ที่ บ อ ก ล ำ ดั บ ข อ ง เ ส า โ ท ร เ ล ข โ ด ย คั่ น ไ ว้ ด้ ว ย เ ค รื่ อ ง ห ม า ย " / "
เช่น สทล. 200/1 หมายถึง กม.ที่ 200 ต้นที่ 1 (แต่ในการอ่าน จะอ่านว่า ส-ท-ล ที่ สองร้อย หลัก หนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น "น้ำท่วมทางรถไฟสายเหนือ เหนือระดับสันราง 5 ซม. ที่ สทล.600/5-10 ระหว่าง
สถานีแม่จาง - แม่เมาะ ขบวนรถผ่านไม่ได้“
หมายถึง น้ำท่วมที่ระหว่างสถานีแม่จาง - แม่เมาะ ณ บริเวณ สทล.ที่ 600 ต้นที่ 5 ถึงต้นที่ 10 ซึ่ง
เป็นระยะทางประมาณ 375 เมตร (นับจากต้นที่ 5-10) นั่นเอง
รายงานการพัฒนาสื่อการเรียนดิจิทัลด้วยระบบ VR AR และ MR เพื่อช่วยพัฒนาทักษะวิศวกรซ่อมบ ารุงระบบราง หน้า | 57