Page 51 - EBOOK-TRON_2018
P. 51

ความสำาคัญและความเป็นมา


 แนวคิดที่ว่าประติมากรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองและเป็นสิ่งช่วยให้เมืองมีความงดงาม เป็นแนวคิดทาง

 ศิลปะและการจัดผังเมืองที่สังคมไทยได้อิทธิพลจากตะวันตก ในระยะเวลา 20 กว่าปีนี้กรุงเทพมหานครมีแนวคิด

 และความพยายามแทรกงานประติมากรรมลงบนพื้นที่เมือง แต่เป็นที่น่าเสียดายโครงการนี้ไม่สามารถจัดสรรพื้นที่
 ที่เหมาะสมได้ จึงไม่บังเกิดผลสำาเร็จ บางชิ้นถูกรื้อทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเพราะขาดการดูแล โดยเฉพาะ

 อย่างยิ่งผลงานที่ติดตั้งในย่านชุมชนที่ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานราชการ ส่วนภาคธุรกิจ เอกชนหลายราย

 นำาประติมากรรมมาติดตั้งหน้าอาคารสำานักงานของตัวเอง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงธุรกิจขององค์กร เป็นที่น่า

 สังเกตว่า งานประติมากรรมเหล่านี้จะได้รับการดูแลอยู่ในสภาพที่ดีเสมอ ผลลัพธ์ของการจัดการข้างต้นชี้ชัดว่า

 การจัดการทัศนียภาพของเมืองขนาดมหานครโดยรัฐฝ่ายเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป การปรับปรุงภูมิทัศน์ในเมือง
 ให้งดงามขึ้นจึงต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย เพื่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นสมบัติสาธารณะ

 นัยยะสำาคัญก็คือ โครงการประติมากรรมบนพื้นที่สาธารณะที่จะประสบผลสำาเร็จ ต้องการการมีส่วนร่วมอย่าง

 จริงจังระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ศิลปิน และชุมชน




 วัตถุประสงค์


 1. การออกแบบประติมากรรมโดยมีฐานความคิดจากเนื้อหา

   เรื่องราวของชุมชน

 2. เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยใช้
   ประติมากรรมเป็นสื่อ




 จุดเด่น



 “ประติมากรรมชุมชน” หรืองานศิลปะ 3 มิติ ที่ได้จาก
 กระบวนการสร้างสรรค์ของศิลปินที่เปิดให้ชุมชนหรือผู้ใช้

 พื้นที่มีร่วมในการออกแบบเพื่อให้เกิดการยอมรับและสร้าง

 การเป็นเจ้าของร่วมในสมบัติสาธารณะ ทดลองออกแบบโดย

 ใช้ข้อมูลจากความต้องการแสดงอัตลักษณ์ และการส่งเสริม
 ภาพลักษณ์ของชุมชน ตลอดจนนำาเรื่องราวในประวัติศาสตร์

 และมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนมาเป็นแรงบันดาลใจในการ

 สร้างสรรค์ มีการปรับรูปแบบงานศิลปะให้เข้ากับยุคสมัย

 และคำานึงถึงความเหมาะสมของขนาดและสิ่งแวดล้อมของ
 ตำาแหน่งที่ตั้งผลงาน





 การนำาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์


 ผลลัพธ์การวิจัยจากสามารถนำาไปใช้เป็นแนวทางหรือวิธีคิดในการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่ชุมชนและเมือง โดยที่มี

 ฐานจากความต้องการจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนและเมืองทุกภาคส่วน รวมทั้งปัจจัยและเงื่อนไขทางด้านกายภาพ

 ของพื้นที่


















 มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561  |  50
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56