Page 3 - 2557 เล่ม 1
P. 3
๓
๑๘ เดือน จําคุกจําเลยที่ ๒ มีกําหนด ๖ ปี ๘ เดือน และปรับ ๖๐ บาท หาก
จําเลยที่ ๒ ไม่ชําระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙
จําเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิพากษายืน
จําเลยที่ ๑ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาของจําเลยที่ ๑ ที่ว่า คําให้การชั้นสอบสวนของ
ผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ไม่สามารถนํามารับฟงงลงโทษจําเลยที่ ๑ ได้ และโจทก์
ไม่สามารถนําสืบได้ว่า จําเลยที่ ๑ ใช้อาวุธปืนในการก่อเหตุตามฟ้องโจทก์จึงไม่อาจ
ลงโทษจําเลยที่ ๑ ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นนั้น เห็นว่า เป็นฎีกาที่เมื่อ
พิจารณาฎีกาทั้งฉบับแล้วกรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงผลตามคําวินิจฉัยของ
ศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจําเลยที่ ๑ จึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา
ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๙ วรรคสอง และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา
๒๓ วรรคหนึ่ง
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จําเลยที่ ๑ มีความผิดฐานพาอาวุธปืน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ ด้วย และจําเลยที่ ๒ มีความผิดฐาน
พาอาวุธมีดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ นั้น เห็นว่า คดีนี้ แม้คําขอ
ท้ายฟ้องจะระบุอ้าง มาตรา ๓๗๑ ไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึง
องค์ประกอบความผิดในมาตราดังกล่าวว่าจําเลยที่ ๑ พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย
หรือไม่มีเหตุสมควร และจําเลยที่ ๒ พาอาวุธมีดไปโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควร
มาด้วย ดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๗๑ มิได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง ปงญหาข้อนี้เป็นปงญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ
เรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัย และ
แก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๕
วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕